ภารกิจวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนาและความมั่นคงของการจัดการศึกษาในประชาคมอาเซียน พม่าศึกษาที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ดร.ลำพอง กลมกูล
รก.ผอ.ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา
E-mail: research.mcu@gmail.com
อ่านจากไฟล์ PDF
บทเกริ่น
ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยกับคณะบุคลากรของสำนักติปิฏกสิกขาลัย (พระไตรปิฏกศึกษา) และได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมที่วัดจากแดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2563 ซึ่งได้ยินชื่อเสียงและกิจกรรมของวัดจากแดงในหลาย ๆ กิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับภารกิจด้านพม่าศึกษา มาอย่างยาวนานและที่สำคัญเป็นวัดใกล้บ้าน (พระประแดง) ที่มีพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เป็นผู้อำนวยการติปิฏกสิกขาลัย ที่รณรงค์เกี่ยวกับการทอจีวรจากพลาสติก การรณรงค์เรียน พระไตรปิฏก การรณรงค์ทำปุ๋ยจากขยะ และอีกหลายกิจกรรมที่เป็นการบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับการศึกษา บูรณาการหลักคำสอนกับการดำเนินชีวิต ซึ่งผลที่ได้เป็นผลในเชิงของการสื่อสารและการยอมรับในวงกว้าง ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมกับมิติทางพระพุทธศาสนา จึงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้การเชิญชวนโดย แม่ชีนันทนัช อัศดรศักดิ์ นิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต มจร วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม ซึ่งได้มองเห็นความสำคัญของวัด จึงได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อใช้การวิจัยในการพัฒนาผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นแก่ผู้สนใจในนามของวัดจากแดง หรือในนามพระไตรปิฎกศึกษา ซึ่งในการเข้าร่วมประชุมได้สัมภาษณ์และลงพื้นที่สังเกตและสัมผัสกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และจะได้นำมาเล่าแบ่งปันเป็นข้อมูลด้านการวิจัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศาสนาผ่านการศึกษา พระไตรปิฎกศึกษา และด้านพม่าศึกษาที่ได้พบที่วัดจากแดงต่อไป
ภาพที่ 1 วัดจากแดงเมื่อ 25 มิถุนายน 2563 ขณะรอเข้าร่วมประชุม ภายใต้โครงการวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนาและพม่าศึกษา (ภาพ: ผู้บรรยาย)
ภาพที่ 2 จดหมายเชิญเข้าร่วมประชุมในการใช้การนำวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนา ณ วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ (ภาพ: ผู้บรรยาย)
(ก) การวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนา และความมั่นคงของอาเซียน
- ศูนย์อาเซียนศึกษากับภารกิจร่วม โดยส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีพันธกิจเป็นการส่งเสริมการทำวิจัย ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนานักวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้นำกลับไปพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ เมื่อได้รับเชิญให้เป็นคณะนักวิจัยและออกแบบการวิจัย จึงเริ่มต้นด้วยการเข้าร่วมประชุมกับทีมงานของติปิฏกสิกขาลัย ที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกศึกษา พระพุทธศาสนา และพม่าศึกษา ร่วมกับ คณะผู้วิจัยของวัดจากแดง เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนผ่านการวิจัยในชั้นเรียน โดยสถานที่ประชุม คือ วัดจากแดง ประเด็นของการพูดคุยเป็นการ (1) นำเสนอแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตร (2) การพัฒนาหลักสูตรให้เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับผู้เรียนอย่างแท้จริง และ (3) ประเด็นอื่น ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเป็นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของผู้เรียน และการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษาบนฐานของพระพุทธศาสนา
- ภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษากับการวิจัย (1) ขั้นแรกเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของติปิฏกสิกขาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตร (2) การสร้างแนวทางเพื่อการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านพม่าศึกษา หรืออาเซียนศึกษาในนามพม่า ผ่านบุคลากรของวัดจากแดง เช่น พระมหาประนอม ธมฺมาลังกาโร ที่เคยศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในพม่าเป็นเวลากว่า 12 ปี และที่สำคัญได้ดำเนินการจัดการศึกษาในแบบพม่า มีปฏิสัมพันธ์เครือข่ายกับพม่าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันดังจะเห็นได้จากมีการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศเมียนมา จำนวน 9 รูปมาแสดงธรรม จัดกิจกรรมสาธยายพระไตรปิฎก บรรยายธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสาธยายพระไตรปิฎกภาษาบาลี เพื่อการเรียนรู้หรือเสริมสร้างศรัทธา เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา การสร้างองค์ความรู้ผ่านการนิพนธ์หนังสือ บรรยายธรรม ซึ่งผสมผสานบูรณาการด้านพม่าศึกษาไปในตัวด้วย (3) การสร้างสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหน่วยงานระหว่างมหาวิทยาลัย กับส่วนติปิฏกสิกขาลัย ที่จะสร้างงานร่วมกันภายใต้พันธกิจการเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต และตอบโจทย์พันธกิจด้านอาเซียนศึกษาโดยเฉพาะพม่าศึกษา หรือความเชื่อมโยงอื่น ๆ ผ่านผู้เขียนในระดับบุคคลก่อนเป็นเบื้องต้นและองค์กรอันจะพึงเกิดขึ้นได้ในอนาคต (4) การสร้างการแสวงหาความรู้ผ่านภารกิจการวิจัยในพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนองค์ความรู้ และความรู้ในเชิงพื้นที่ของวัดเอง ที่จะทำหน้าที่ในการจัดการศึกษา รักษาศรัทธา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาอย่างที่ทำอยู่ จัดการเรียนการสอนให้ทั้งพระ ฆราวาส ด้านพระพุทธศาสนาอย่างมีเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสังคมรอบข้างด้วย ซึ่งทำให้วัดกลายเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของชุมชนและสังคมในภาพกว้างดังปรากฏ
(ข) พม่าศึกษา
ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาเคยจัดทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”(2562) โดยมี พระเดชพระคุณพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นโครงการวิจัยภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้า ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์” โดยมี รศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต และ ดร.ลำพอง กลมกูล เป็นคณะผู้ร่วมวิจัย งบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และในการวิจัยนั้นได้สะท้อนคิดถึงศาสนาเป็นกลไกร่วมในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม โดยวัดจากแดงได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เช่น การนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมาบรรยายธรรม สอนธรรม ที่นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการศึกษา การแสดงความเคารพต่อพระในแบบเมียนมา และการทำให้สังคมไทยตระหนักถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบจดจำ (มุขปาฐะ) มีความหมายเป็นการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนา อันมีฐานรากและวิธีการจากเมียนมา
- วัดจากแดงกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทยพม่า การที่วัดจากแดงโดยท่านพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร และเครือข่ายที่เข้าไปใช้ชีวิตในพม่าเป็นเวลานาน เช่น พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม) อยู่ใช้ชีวิตและศึกษาในเมียนมาไม่น้อยกว่า 18 ปี ท่านมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ใช้ชีวิตในเมียนมาเกินกว่า 12 ปี ท่านเหล่านี้รู้และพูดภาษาพม่าอย่างชำนิชำนาญ จึงเป็นเครือข่ายผ่านประสบการณ์ การศึกษา และการถอดองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของรูปแบบการศึกษา ธรรมเนียมปฏิบัติ และการจัดการศึกษาในแบบพม่า และที่สำคัญมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้มีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง พม่า และอื่นๆ ที่มีพื้นถิ่นอยู่ในดินแดนที่ชื่อประเทศเมียนมา มาทำกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องในทุกวันหยุดและวันสำคัญ โดยกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยกับพม่า และพม่ากับไทยโดยตรงผ่านลักษณะร่วมทางศาสนา คือพระพุทธศาสนาและวัดจากแดง
(ก) การวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนา และความมั่นคงของอาเซียน
- ศูนย์อาเซียนศึกษากับภารกิจร่วม โดยส่วนงานวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีพันธกิจเป็นการส่งเสริมการทำวิจัย ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนานักวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้นำกลับไปพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ เมื่อได้รับเชิญให้เป็นคณะนักวิจัยและออกแบบการวิจัย จึงเริ่มต้นด้วยการเข้าร่วมประชุมกับทีมงานของติปิฏกสิกขาลัย ที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฎกศึกษา พระพุทธศาสนา และพม่าศึกษา ร่วมกับ คณะผู้วิจัยของวัดจากแดง เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนผ่านการวิจัยในชั้นเรียน โดยสถานที่ประชุม คือ วัดจากแดง ประเด็นของการพูดคุยเป็นการ (1) นำเสนอแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตร (2) การพัฒนาหลักสูตรให้เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับผู้เรียนอย่างแท้จริง และ (3) ประเด็นอื่น ๆ ที่จะเป็นไปเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเป็นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของผู้เรียน และการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านการจัดการศึกษา และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษาบนฐานของพระพุทธศาสนา
- ภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษากับการวิจัย (1) ขั้นแรกเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของติปิฏกสิกขาลัย ในการพัฒนาการเรียนการสอนของหลักสูตร (2) การสร้างแนวทางเพื่อการวิจัยในการแสวงหาความรู้ด้านพม่าศึกษา หรืออาเซียนศึกษาในนามพม่า ผ่านบุคลากรของวัดจากแดง เช่น พระมหาประนอม ธมฺมาลังกาโร ที่เคยศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในพม่าเป็นเวลากว่า 12 ปี และที่สำคัญได้ดำเนินการจัดการศึกษาในแบบพม่า มีปฏิสัมพันธ์เครือข่ายกับพม่าอยู่จนกระทั่งปัจจุบันดังจะเห็นได้จากมีการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกจากประเทศเมียนมา จำนวน 9 รูปมาแสดงธรรม จัดกิจกรรมสาธยายพระไตรปิฎก บรรยายธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสาธยายพระไตรปิฎกภาษาบาลี เพื่อการเรียนรู้หรือเสริมสร้างศรัทธา เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา การสร้างองค์ความรู้ผ่านการนิพนธ์หนังสือ บรรยายธรรม ซึ่งผสมผสานบูรณาการด้านพม่าศึกษาไปในตัวด้วย (3) การสร้างสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหน่วยงานระหว่างมหาวิทยาลัย กับส่วนติปิฏกสิกขาลัย ที่จะสร้างงานร่วมกันภายใต้พันธกิจการเรียนรู้ร่วมกันในอนาคต และตอบโจทย์พันธกิจด้านอาเซียนศึกษาโดยเฉพาะพม่าศึกษา หรือความเชื่อมโยงอื่น ๆ ผ่านผู้เขียนในระดับบุคคลก่อนเป็นเบื้องต้นและองค์กรอันจะพึงเกิดขึ้นได้ในอนาคต (4) การสร้างการแสวงหาความรู้ผ่านภารกิจการวิจัยในพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนองค์ความรู้ และความรู้ในเชิงพื้นที่ของวัดเอง ที่จะทำหน้าที่ในการจัดการศึกษา รักษาศรัทธา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาอย่างที่ทำอยู่ จัดการเรียนการสอนให้ทั้งพระ ฆราวาส ด้านพระพุทธศาสนาอย่างมีเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสังคมรอบข้างด้วย ซึ่งทำให้วัดกลายเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของชุมชนและสังคมในภาพกว้างดังปรากฏ
(ข) พม่าศึกษา
ในนามบุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษาเคยจัดทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”(2562) โดยมี พระเดชพระคุณพระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นโครงการวิจัยภายใต้ทุนวิจัยมุ่งเป้า ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์” โดยมี รศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต และ ดร.ลำพอง กลมกูล เป็นคณะผู้ร่วมวิจัย งบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และในการวิจัยนั้นได้สะท้อนคิดถึงศาสนาเป็นกลไกร่วมในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม โดยวัดจากแดงได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เช่น การนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎกมาบรรยายธรรม สอนธรรม ที่นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการศึกษา การแสดงความเคารพต่อพระในแบบเมียนมา และการทำให้สังคมไทยตระหนักถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบจดจำ (มุขปาฐะ) มีความหมายเป็นการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนา อันมีฐานรากและวิธีการจากเมียนมา
- วัดจากแดงกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทยพม่า การที่วัดจากแดงโดยท่านพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร และเครือข่ายที่เข้าไปใช้ชีวิตในพม่าเป็นเวลานาน เช่น พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม) อยู่ใช้ชีวิตและศึกษาในเมียนมาไม่น้อยกว่า 18 ปี ท่านมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ใช้ชีวิตในเมียนมาเกินกว่า 12 ปี ท่านเหล่านี้รู้และพูดภาษาพม่าอย่างชำนิชำนาญ จึงเป็นเครือข่ายผ่านประสบการณ์ การศึกษา และการถอดองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของรูปแบบการศึกษา ธรรมเนียมปฏิบัติ และการจัดการศึกษาในแบบพม่า และที่สำคัญมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้มีกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง พม่า และอื่นๆ ที่มีพื้นถิ่นอยู่ในดินแดนที่ชื่อประเทศเมียนมา มาทำกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องในทุกวันหยุดและวันสำคัญ โดยกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เข้ามาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทยเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างไทยกับพม่า และพม่ากับไทยโดยตรงผ่านลักษณะร่วมทางศาสนา คือพระพุทธศาสนาและวัดจากแดง
ภาพที่ 3 วารสารโพธิยาลัย ช่องทางในการสื่อสารพระพุทธศาสนาและพม่าศึกษาของวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ ได้รับมอบจากทางวัด ในเล่มให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระผู้ทรงพระไตรปิฎก และความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา 72 ปี และพม่าศึกษา เป็นต้น (ภาพ: ผู้บรรยาย)
- วัดจากแดง กับกิจกรรมพม่าศึกษา การจัดสวดสาธยายพระไตรปิฎก และแสดงธรรม โดยการนิมนต์พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก จำนวน 9 รูป จากที่มีอยู่ทั้งหมด 13 รูป มรณภาพ 3 รูป และตั้งสัจจะอธิษฐานไม่เดินทางออกนอกประเทศ 1 รูป แต่ทั้งหมดเป็นการเห็นรูปแบบของการรักษาคำสอน รักษาพุทธพจน์ในแบบมุขปาฐะ และให้ความสำคัญกับวิธีการทรงจำพระไตรปิฎก หรือรักษาคำสอนด้วยวิธีการดังกล่าวด้วย ซึ่งเหมาะกับสมัยกาลและเป็นแบบแผนของการจดจำพระไตรปิฎก ผ่านคน หรือผ่านพระสงฆ์ที่มุ่งมั่นด้วยวิธีการดังกล่าว ภาพสะท้อนนี้จึงเป็นการรักษาแบบแผนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา การสื่อสารให้สังคมไทยได้รับรู้รับทราบต่อวิธีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในแบบ “มุขปาฐะ” การท่องจำ หรือการนำพระพุทธศาสนาและคำสอนพระพุทธศาสนาไว้ในคน และให้เห็นความสำคัญว่ารัฐบาลเมียนมา ยกย่องพระภิกษุเหล่านี้ และนิมนต์พระผู้ทรงพระไตรปิฎก มาเป็นต้นแบบตัวอย่างในการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ทำให้ทั้งชาวไทยที่สนใจ ใคร่ศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว และที่สำคัญได้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างชาวเมียนมา ที่อยู่ในประเทศไทยได้เข้าร่วมในกิจกรรมเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัด ชุมชนชาวพุทธไทย ชาวพุทธนานาชาติ อันหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมาในประเทศไทย และการเรียนรู้ด้านพม่าศึกษา หรือการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมสาธิตและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างกันของไทยและพม่า.
ภาพที่ 4 พม่าศึกษา การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ไมตรีทางศาสนา ที่วัดจากแดง จ.สมุทรปราการ (ภาพ Online)
- วัดจากแดงกับความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างไทยกับพม่า ในวารสาร โพธิยาลัยที่ได้รับมอบมาเป็นฉบับระลึก “72 ปีความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา” มีคำโปรยในปกรองด้านในว่า “72 ปี ความสัมพันธ์ไทยเมียนมา : สยามรฎฺฐมรมฺมรฎฺฐานํ ทฺวาสตฺตติวสฺสิกสมฺพนฺโธ” มีข้อความที่เป็นภาษาบาลีและไทย ซึ่งผู้บรรยายนำมาบางส่วนว่า “แต่เดิมประเทศทั้งสอง มีชื่อเสียงหนึ่งเดียวกัน “สุวรรณภูมิ” มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยทางภูมิศาสตร์ และศาสนา คือ มีพรมแดนติดกัน และเป็นเมืองพุทธนิกายเถรวาทเหมือนกัน แม้ทั้งสองจะมีความสัมพันธ์เฉกเช่นนั้นมายาวนานก็จริง แต่หากเป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตในระดับรัฐต่อรัฐแล้ว เพิ่งจะสถาปนาได้เพียง 72 ปี…” (จำรูญ ธรรมดา ประพันธ์) เมื่อสืบความตามข้อมูลนับตั้งแต่พม่าได้เอกราชจากอังกฤษ ศักราชของความสัมพันธ์ไทยพม่าก็เริ่มนับใหม่ ซึ่งหากมองย้อนในประวัติศาสตร์เราอาจเคยชินกับประวัติศาสตร์ไทยพม่า กับความสัมพันธ์และความเชื่องโยงกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติมาอย่างยาวนาน แต่หากศักราชใหม่ นับจากแต่การได้เอกราชจากอังกฤษ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ และทางการทูต ในส่วนทางศาสนา ทั้งในเชิงการแลกเปลี่ยนพระสงฆ์ เช่น พระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9 (พระธรรมธีราชมหามุนี) พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล (วัดมหาธาตุ คณะ 25 กทม) พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร (ที่เชิญผู้บรรยายไปร่วมประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของติปิฎกสิกขาลัยในครั้งนี้) จรูญ ธรรมดา นักวิชาการอภิธรรมโชติกวิทยาลัย มจร. และอีกหลายท่านที่เข้าไปศึกษาภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือการที่รัฐบาลไทย โดยคณะสงฆ์ได้เข้าร่วมในพิธีฉัฎฐสังคายนา ที่รัฐบาลพม่ากับคณะสงฆ์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนา 2500 ปี เริ่มทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 และมีพระเถระจากประเทศไทย เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภะ) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ กทม. หลวงพ่อปัญญานันทะ วัดชลประธานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี และอีกหลายท่านร่วมพิธี หรือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมียนมาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม พุทธศักราช 2503 เหล่านี้นับเป็นความสัมพันธ์อันดีทางการทูตระหว่างรัฐ และการศาสนาระหว่างพระพุทธศาสนาจากประเทศไทย และเมียนมา รวมทั้งการที่ไทยได้ส่งพระมหาโชดก ญาณสิทธิ (พระธรรมธีรราชมหามุนี) เปรียญธรรม 9 ประโยค จากวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ไปศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานที่เมียนมา และนำรูปแบบการสอนในแบบสติปัฎฐาน 4 (ยุบหนอพองหนอ) มาเผยแผ่ทำการสอนผ่านคณะ 5 วัดมหาธาตุ และกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ทำให้การสอนกรรมฐานในแบบดังกล่าวเผยแผ่ไปทั่วประเทศในขณะนั้น มีบุคคลอ้างอิงที่ร่วมสมัยของการจัดการศึกษากรรมฐานในแบบเมียนมาในประเทศไทย เช่น หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล (พระพรหมมงคล วิ.) วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น ที่ศึกษาและปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ด้วย ทั้งในขณะนั้นรัฐบาลเมียนมา ได้ส่งพระอภิธรรมโชติกะ มาจัดตั้งจัดการเรียนการสอนในประเทศไทย และมีสถาบันอภิธรรมโชติกะ ที่วัดมหาธาตุ อันเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาด้านอภิธรรมปิฎก จนกระทั่งปัจจุบัน หรือการที่ส่งพระภัททันตะ อาสภะ มหาเถระ มาสอนกรรมฐานเริ่มที่วัดมหาธาตุ และสอนกรรมฐานในแบบ “สติปัฎฐาน” ยุบหนอง พองหนอ และเป็นแนวปฏิบัติหนึ่งในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็ใช้แนวปฏิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งนับเป็นผลิตผลของความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา และการศึกษาจากประเทศเมียนมา
ภาพที่ 5 พิธีฉัฎฐสังคายนา ที่รัฐบาลพม่ากับคณะสงฆ์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนา 2500 ปี เริ่มทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภะ) อดีตอธิดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ฯ กทม. ซึ่งได้เข้าร่วมในพิธีนี้ด้วย ทั้งเป็นผู้ริเริ่มเปิดศักราชการศึกษาแบบพม่า โดยการส่งพระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.9 ไปศึกษา กรรมฐานที่ประเทศพม่า และนิมนต์พระภัททันต อาสภะ มาเผยแผ่สอนกรรมฐานในแบบ “ยุบหนอ พองหนอ” ในประเทศไทย รวมทั้งนิมนต์พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ มาจัดการเรียนการสอนด้านอภิธรรม และคงอยู่เป็นอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ ฯ กทม. ส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนด้านพระอภิธรรม กระทั่งปัจจุบัน (ภาพ Online
ภาพที่ 6 พระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9 (พระธรรมธีรราชมหามุนี) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระภิกษุชาวไทยที่ไปศึกษาสติปัฎฐานในเมียนมา และนำมาเผยแผ่และสอนในประเทศไทย พระภัททันตะ อาสภะมหาเถร/พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระภิกษุชาวเมียนมา ที่รัฐบาลพม่าส่งมาสอนกรรมฐานและอภิธรรม จนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยกระทั่งปัจจุบัน (ภาพ Online)
ภาพที่ 7 หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล (พระพรหมมงคล วิ.) วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ผู้สอนกรรมฐานตามแนวสติปัฎฐาน 4 ในแบบยุบหนองพอหนอ ในช่วงสมัยต่อมา อันเป็นส่วนที่เนื่องจากความสัมพันธ์ไทยเมียนมาด้านการศึกษา และความเชื่อมโยงด้านพระพุทธศาสนาในอดีต (ภาพ Online)
ภาพที่ 8 ภาพความสัมพันธ์ระหว่างไทย เมียนมา เมื่อครั้งราชวงศ์ไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพะราชดำเนินเยือนประเทศเมียนมา ระหว่าง 2-5 มีนาคม พุทธศักราช 2503 โดยมีประธานาธิบดี อู วิน หม่อง พร้อมคณะรัฐบาลถวายการต้อนรับ (ภาพออนไลน์)
ภาพที่ 9 ในวารสารโพธิยาลัยที่ผู้เขียนได้รับมอบมา ให้ข้อมูลว่าเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันติปิฎกสิกขาลัย ร่วมกับหอพระไตรปิฏกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดงาน “การศึกษาและสืบสานพระไตรปิฎก” ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อฉลองเทศกาลมาฆบูชา ปี 2563 และเป็นการร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 72 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ภาพ ผู้บรรยาย)
(ค) การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ “พระไตรปิฏกศึกษา”
- ศูนย์อาเซียนกับการร่วมพัฒนาโจทย์วิจัย “พระไตรปิฎกศึกษา” จากการประชุมที่ผู้บรรยายได้เข้าร่วมประชุมพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ทำให้ได้ประเด็นในการพัฒนาแผนงานวิจัยภายใต้โครงการ “นวัตกรรมรูปแบบการเรียนรู้พระปริยัติธรรมของติปิฏกสิกขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ” โดยได้กำหนดโครงการย่อยเป็น 3 เรื่อง ดังนี้
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ต้นแบบการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมของติปิฏกสิขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ภาพที่ 10 ประชาสัมพันธ์ศึกษาพระไตรปิฏกศึกษา ของติปิฏกสิกขาลัย วัดจากแดง โดยพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโล ประจำปีการศึกษา 2563 (ภาพ Online)
โดยจะเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างคณะผู้วิจัยของศูนย์อาเซียนศึกษาและบุคลากรของ ติปิฏกสิขาลัย วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งในการออกแบบการวิจัยและการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยใช้การออกแบบการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed methods research)
โดยความคาดหวังจะเป็นผลของการพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ให้เหมาะกับผู้เรียน โดยมีความคาดหวังเป็นคุณภาพของหลักสูตร เมื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนแล้วเป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพของหลักสูตรต่อการจัดการเรียน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาผ่านหลักสูตรนี้แล้วส่งผลเป็นประสิทธิผลตามเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนตามกรอบของพระไตรปิฎกศึกษา และที่สำคัญจะต้องมุ่งไปถึงปฏิบัติ ที่นอเหนือจากปริยัติ และไปสู่หัวใจของพระพุทธศาสนาคือปฏิเวธได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานการศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการวิจัยจึงนับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดด้วยเช่นกัน ที่จะต้องแสวงหาความรู้ นำไปถอดเป็นชุดความรู้ นำไปออกแบบเป็นหลักสูตร เป็นชุดการเรียนรู้ ด้วยการวิจัย โดยมีเป้าประสงค์เป็นการพัฒนาผู้ศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรด้วย ซึ่งอาจไปเทียบเคียงกับหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จ.นครปฐม หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ และร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เป็นไปเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในภาพกว้างร่วมกันต่อไป ดังนั้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมอันเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของศูนย์อาเซียนศึกษา ต่อการบริหารวิชาการและการวิจัยรับใช้พระพุทธศาสนาจึงเป็นภารกิจร่วมกับคณะผู้วิจัยของวัดจากแดง ในการประชุมครั้งนี้ และได้คำตอบเป็นโจทย์การวิจัยเพื่อพัฒนาออกมาเป็นงานวิจัยดังปรากฏตามชื่อเรื่อง
(ง) บทบาทของวัดกับภารกิจพระพุทธศาสนา
- วัดกับการสร้างความเข้มแข็งในการสืบสานพระพุทธศาสนา วัดทั่วประเทศมีกว่า 4 หมื่นวัด การที่วัดจากแดงเป็นหนึ่งวัดที่ทำหน้าที่ในการสืบสานและรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นต้นแบบ (ก) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ทั้งพระ ฆราวาสให้มาศึกษาพระพุทธศาสนา ด้วยการเปิดหลักสูตรพระไตรปิฎกศึกษา และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องผ่าน ติปิฎกสิกขาลัย (ข) จัดกิจกรรมรักษาสืบสานวิถีศาสนาในรูปแบบ ของบุญประเพณี วิถีศาสนา วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ใช้เป็นสถานที่ทำบุญ ปฏิบัติธรรม รักษาศีล เจริญภาวนา แปลว่าวัดจากแดงก็ยังทำหน้าที่นี้ได้อย่างเข้มข้น จนกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมในภาพกว้างได้ (ค) จัดกิจกรรมเชิงชุมชนที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความพร้อมในการทำงานเพื่อชุมชนรักษาชุมชนให้เกิดขึ้น ดังกรณีการรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านขยะเป็นจีวร ขยะเป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความเห็นดีด้วย สร้างรายได้ ลดต้นทุน ลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมเชิงชุมชนที่มีอาสาสมัครในชุมชนใกล้ไกลมามีส่วนร่วมและให้ความช่วยเหลือ เป็นศูนย์รวมจิตใจ รักษาศรัทธาผ่านกิจกรรมเชิงชุมชนร่วมกัน (ง) รักษาสืบทอด ศาสนทายาท จัดการศึกษาพัฒนาคน จัดการศึกษาสืบทอดคำสอน จัดการพัฒนาชุมชน และสร้างนวัตกรรมให้พระพุทธศาสนา นับเป็นความโดดเด่นและน่านำไปเป็นแบบอย่างแก่วัดอื่น ๆ ในภาพกว้างได้ หมายถึง การจัดการศึกษาที่เอาจริงเอาจัง เป้าหมายเป็นการสื่อสารคำสอนพระพุทธศาสนา ดังปรากฏในช่องสื่อออนไลน์ ใช้การสื่อสารสาธารณะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การใช้การเรียนเป็นการรักษาคำสอน การศึกษาคำสอน การใช้กิจกรรมหรือสร้างนวัตกรรมจีวรจากขยะ หรือขวดพลาสติก ทำให้เกิดการเห็นคุณค่าและสร้างคุณค่าใหม่ภายใต้ประโยชน์ ประหยัด และไปสู่เป้าหมายแห่งความดีงามตามแบบวิถีของชาวพุทธ
- วัดจากแดงกับการสะท้อนอัตลักษณ์และนวัตกรรมในพระพุทธศาสนา ในบริบทนี้ สะท้อนถึงจีวรจากขวดพลาสติก จีวรเป็นบริขาร ที่สำคัญจะบวชเป็นพระได้ ไม่ได้ต้องมีจีวร หรือบริหารสำหรับบวช นับเป็นสิ่งใช้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อีกนัยหนึ่งขยะเป็นปัญหาของชุมชนในภาพกว้างทุกประเทศเหมือนกันหมด แนวคิดในเรื่องสมดุล พอเพียง สมถะเรียบง่าย นำไปสู่การออกแบบจีวร จากสิ่งที่เหลือใช้ เป้าหมายเพื่อลดการใช้ขยะ เป็นการกำจัดขยะ แยกขยะอย่างเป็นระบบผ่านทัศนะว่าขวดทำจีวรได้ ทำบุญด้วยขวดพลาสติก ดังนั้นแนวคิดจีวรจากพลาสติกออกแบบมาเพื่อลดจำนวนขยะ ซึ่งเป็นการเป็นการบูรณาการระหว่างชีวิตของความเป็นจริง กับจีวรพลาสติก ทำให้เห็นว่า “ขวด” ในมือ 1 ขวด ก็แปลงเป็นบุญได้ ขยะในมือ 1 ชิ้นนำไปพัฒนาเป็นผ้า เป็นจีวรได้ ทำให้เกิดความตระหนัก เกิดการนึกคิดต่อการนำสิ่งเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ นับเป็นนวัตกรรมในการจัดการยุคใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และที่ทราบเห็นว่าทางวัดมีการนำขยะมาทำเป็นปุ๋ยเพื่อลดขยะ ภายใต้แนวคิดการลดขยะ หรือลดสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดทำให้ขยะเป็นบุญ นับเป็นความโดดเด่นและเป็นนวัตกรรมที่ควรนำไปศึกษาเผยแผ่ให้เป็นแบบอย่างแก่วัดต่าง ๆ หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการรณรงค์เรื่องขยะ ลดมลภาวะ กำจัดขยะอย่างเป็นระบบ คัดแยกขยะอย่างมีเป้าหมาย สร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งเหลือใช้ เป็นต้น นับเป็นความโดดเด่นของวัดจากแดงในฐานะที่เป็นวัดในชุมชน ทำให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน สังคมและภาพกว้างของสังคมได้
ภาพที่ 11 กิจกรรมด้านการรณรงค์ใช้ขวดพลาสติก มารีไซเคิล เป็นจีวรของวัดจากแดง โดยพระมหาประนอม ธมฺมลงฺกาโร ที่ถูกสื่อสารต่อสาธารณะ (ภาพ Online)
ภาพที่ 12 ผู้ใดจัดการขยะ ผู้นั้นได้ ความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ / เปลี่ยนขยะเปียกเป็นปุ๋ย ลดขยะ สร้างประโยชน์เพื่อชุมชนวัดจากแดง / แนวคิดและการรณรงค์การใช้ขยะไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้แนวคิด ประหยัด ประโยชน์ ประยุกต์ ขยะจึงเป็นปุ๋ย เป็นผ้าจีวร เป็นสิ่งประดิษฐ์จากสิ่งเหลือใช้ ที่วัดจากแดง นับเป็นนวัตกรรมแห่งยุคสมัยในการบูรณาการพระพุทธศาสนารับใช้สังคมและชุมชน (ภาพ Online)
ทั้งหมดเป็นภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์อาเซียนศึกษา มจร กับวัดจากแดง จ.สมุทรปราการ และ ติปิฎกสิกขาลัย ที่มีความโดดเด่นด้านพม่าศึกษา การศึกษาพระพุทธศาสนา และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนกรณีศึกษาเมียนมา และการจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางและส่วนสำคัญของชุมชนโดยเชื่อมโยงอยู่กับหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการใช้วิจัยเป็นฐานในการพัฒนาการศึกษา แสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาการศึกษา การแสวงหาความรู้เพื่อการส่งต่อและเชื่อมโยงกับชุมชน การพัฒนาการศึกษาภายใต้แนวทางและความเป็นไปนับเป็นปรากฏการณ์ร่วมของชุมชนได้อย่างแท้จริง
“ผู้บรรยายนำมาเล่าแบ่งปันไว้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
ความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โดยศูนย์อาเซียนศึกษากับการบริการวิชาการในส่วนของการนำผลการวิจัย
ไปรับใช้พระพุทธศาสนา รับใช้วัด พระสงฆ์ และชุมชน
วัดจากแดง ที่เชื่อมสัมพันธ์กับเมียนมา และด้านพม่าศึกษา และชุมชน
ติปิฎกสิกขาลัย การจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาอันมีแบบแผนจากเมียนมา
นำมาแบ่งปัน ไว้เป็นข้อมูลความรู้ เพื่อการศึกษา พัฒนาเป็นการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
เข้าใจเขา เข้าใจเรา เหมือนและต่างอย่างเข้าใจ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข”
#ศูนย์อาเซียนศึกษา มจร. “ธรรมบรรยายออนไลน์”
ทุกวันพุธ|เวลา 17.30-18.00 น.
#สถานีวิทยุ พล.ม2 AM 963 KHz บางกระบือ กรุงเทพฯ
บทบรรยายถอดความเรียบเรียง โดย ดร.ลำพอง กลมกูล
ออกอากาศเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 17.30-18.00 น.
รายการอ้างอิง
พระเทพปวรเมธี,รศ.ดร. และคณะ (ดร.ลำพอง กลมกูล). (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม อาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (An
Instructional Model of ASEAN Cross Culture in CLMV Countries for Students in
Mahachulalongkornrajavidyalaya University) .กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะการการวิจัยแห่งชาติ.
https://bit.ly/3geqgCl
พิเชฐ ทั่งโต และลำพอง กลมกูล. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์
ของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย (An Instructional Model of Thai – Myanmar Cross
Culture of Higher Education Institutes in Thai Society). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. https://bit.ly/3f0iwDX
วารสารโพธิยาลัย (2563) ฉบับที่ 53. https://www.watchakdaeng.com/2020/04/podhiyalai_53.pdf
วารสารโพธิยาลัย ฉบับที่ 1-52 และเมียนมาศึกษา วัดจากแดง https://watchakdaeng.com/