พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของคนจีนและมลายู:
กรณีศึกษาประเทศบรูไน
Religious Multiculturalism for Coexistence Of Chinese and Malay People:
A Case Study of Brunei
พระราชวรเมธี,รศ.ดร. Phra Rajvaramethi, Assoc. Prof. Ph.D.
ดร.ลำพอง กลมกูล Lampong Klomkul, Ph.D.
ศูนย์อาเซียนศึกษา ASEAN Studies Centre, MCU
E-mail: research.mcu@gmail.com
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของคนจีนและคนมลายูในประเทศบรูไน โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างทางศาสนา ชาติพันธุ์และความเชื่อในบรูไนส่งผลให้เกิดขันติธรรมในการอยู่ร่วมกัน เนื่องจากการจัดการศึกษาอันเป็นฐานของการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การแสดงออกของการจัดการและการบริหารอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดกลไกในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ภายใต้ความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนาที่ต้องประกอบด้วยการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และปรับตัว โดยมีหลักคิดทางศาสนาที่ยึดมั่นในขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ร่วมสังคมชาติ อันเป็นแนวทางหรือระบบคิดในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุลักษณ์ทางศาสนาระหว่างชาวจีนและมลายูบรูไนที่มีการปฏิบัติและนำไปปรับใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันในวิถีความแตกต่างดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
คำสำคัญ : พหุวัฒนธรรมทางศาสนา, แนวทางการอยู่ร่วมกัน, บรูไน , จีน-มลายู
Abstract
The purpose of this article was to study the religious multiculturalism of the Chinese and Malaysian people living in Brunei. Qualitative research with documentary study, interview and participatory observation was used for research design. Results indicated that the differences within religion, ethnic and belief effected to tolerate of living together. Educational management as a basic of learning can express into appropriate management for the mechanism of coexistence under religious multiculturalism which consisted of learning, understanding, and adjusting on religious principles, adhere to tolerate, to be strong for the difference, pay respect to the differences of social companions, and to consider the human social cohesion. These are the way of thinking system for living together of religious multiculturalism between Chinese and Malay people who applied into practice for living with the differences that appears in the current situation.
Keywords: Religious Multiculturalism, Way of living together, Brunei,
Chinese and Malay
บทนำ
ในฐานะนักวิจัยที่ได้เดินทางเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยในเรื่อง “Trends of Educational Management for Unity and Peace of Countries in ASEAN Community” ทำให้ได้รับประสบการณ์จากการเดินทางไปยังบรูไน ในบทบาทของนักวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่วิจัยประเทศบรูไน ระหว่าง 10-15 มิถุนายน พ.ศ.2559 โดยได้พบกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยแห่งชาติบรูไน รวมทั้งศึกษาในเชิงอาณาบริเวณ โดยสังเกตและลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของชาวบรูไนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อาทิ กลุ่มชาวจีนที่สะท้อนให้เห็นถึงพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม ศาสนาที่ได้พบและสังเกต ทำให้เห็นว่าในความแตกต่างหลากหลายต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่ในเวลาเดียวกันก็หลอมรวมอยู่กันได้ภายใต้ความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์และสะท้อนถึงความเคร่งขรึมในแบบมุสลิมบรูไน ที่ได้ชื่อว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีท่าทีผ่อนคลายในแบบ “พหุลักษณ์” ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ลงตัวภายใต้วิถีที่ต่างกัน แต่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของบรูไน รวมทั้งวิถีของบรูไนก็สามารถสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของวิถีทางศาสนาได้ แต่ในเวลาเดียวกันยังปรากฏให้เห็นความแตกต่างหลากหลายภายใต้ความทันสมัย เช่น ห้างสรรพสินค้าในแบรนด์ต่างชาติ และวิถีทางศาสนา ซึ่งในการเดินทางของคณะผู้วิจัยในช่วงนั้นเป็นช่วงเดือนรอมฎอน มีโอกาสไปสังเกตวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของชาวพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในบรูไน ทำให้เห็นว่าในบรูไนมีกลุ่มชาติพันธุ์จีนอยู่ด้วย แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้บนวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างในลักษณะของพหุวัฒนธรรมทางทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนาและวิถีชีวิต โดยชาวจีนจัดเป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากชาวมลายูบรูไน โดยชาวจีนมีหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์กันกับบรูไนนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง (Song Dynasty 960 AD ถึง 1296 AD) ตามเส้นทางการค้าจีนและบรูไน หรือในชื่อ Poni จนกระทั่งจีนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในศตวรรษที่ 17 ดินแดนบรูไนเริ่มมีชุมชนชาวจีนเข้าตั้งถิ่นฐานเพื่อเป็นสถานีทางการค้า อย่างไรก็ตามการค้าลดลงในศตวรรษที่ 18 และศตวรรษที่ 19 บรูไนก็กลายเป็นอารักขาของอังกฤษที่การอพยพเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในปี 2447 มีชาวจีน 500 คนในบรูไน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในบังคับของอังกฤษ การค้นพบน้ำมันในปี 1929 ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น จำนวนประชากรจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี พ.ศ. 2474 – 2490 เมื่อมีการขยายตัวเป็น 4 เท่า ผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากดินแดนหลักที่มีชาวจีนจำนวนมาก อาทิ สิงคโปร์ และฮ่องกง เมื่อไปยังชุมชนชาวจีนทำให้เห็นวิถีทางศาสนาการตั้งถิ่นฐานและความแตกต่างอย่างชัดเจน พบว่า ในความแตกต่างก็มีความเหมือน และในความเหมือนก็มีการเรียนรู้และการเชื่อมสัมพันธ์ที่เป็นความเหมือนและความแตกต่างกันในคราวเดียวไปด้วย ซึ่งจะได้ทำการศึกษาและนำเสนอในภาพรวมรวมเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิถีแห่งชาติพันธุ์และความแตกต่างของชาวจีนและชาวมลายูบรูไนตามขอบข่ายการศึกษาพหุวัฒนธรรมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างกัน
ภาพที่ 1 นักวิจัยเก็บข้อมูลวิจัยช่วงรอมฎอนกับการสะท้อนอัตลักษณ์ของมุสลิมในประเทศบรูไน (ที่มา: ภาพผู้วิจัย, 13 มิถุนายน 2559)
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เป็นการศึกษาภาคสนามในแบบอาณาบริเวณศึกษา (Area Studies) เป็นการลงพื้นที่ประเทศบรูไนและสัมภาษณ์นักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่อการศึกษาและยุทธศาสตร์การศึกษา โดยมีขั้นตอนของการสัมภาษณ์กลุ่มชาวบรูไน และชาวจีน ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนรวมเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางศาสนาในศาสนสถานของชาวจีนและชาวบรูไน และการสังเคราะห์ร่วมกับเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย
- พหุวัฒนธรรมความหลากหลายในการอยู่ร่วมกัน
แนวคิดในเรื่องการอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายกลายเป็นประเด็นร่วมทางสังคมประชาชาติทั่วโลก ด้วยเหตุผลที่ว่าด้วยโลกทัศน์ รัฐชาติ ชาติพันธุ์ กลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งกันในเชิงรัฐชาติและความเป็นเอกภาพภายใต้ความแตกต่างหลากหลายและการอยู่ร่วมกันภายใต้วิถีของความแตกต่าง เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยพึงปฏิบัติเพื่อพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและสงบสุข เมื่อพิกัดไปที่ความเป็นพหุวัฒนธรรมจะพบว่า อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ คือสิ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลหรือสังคมนั้น ๆ สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฏในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ ภาษา วิถีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี และวัฒนธรรม ปรากฏในงานของ T.H. Marshall (1950) เรื่อง Citizenship and Social Class ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการของความเป็นพลเมือง ตามความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางชนชั้น ที่เกิดขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ของสังคม โดยที่ Marshall ถือว่าส่วนประกอบของการเป็นพลเมืองของรัฐชาติใดรัฐชาติหนึ่ง ก็คือ สิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิทางสังคม และแต่ละสิทธิต่างก็ครอบคลุมถึงในด้านเฉพาะของสิทธินั้นๆ กล่าวคือ
สิทธิด้านความเป็นพลเมือง ก็คือ การมีเสรีภาพในชีวิต ทรัพย์สิน การพูด การคิด และนับถือศาสนา สิทธิในด้านกระบวนการยุติธรรม การได้สัญชาติ เป็นต้นโดยมีสถาบันสมัยใหม่เป็นผู้ดูแล สิทธิประเภทนี้ก่อเกิดขึ้นในยุโรปและอเมริกามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
สิทธิทางการเมือง คือ การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองซึ่งมีมาก่อน (ในบางประเทศได้ขยายสิทธิทางการเมืองนี้สู่กลุ่มผู้บรรลุนิติภาวะทุกคน)
สิทธิทางสังคม คือ การได้รับการศึกษาอบรม การมีสุขภาวะที่ดีหรือได้รับสวัสดิการที่ดีและเท่าเทียม สิทธิทั้งสองประการหลังนี้ มีเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 20 เพราะเป็นไปตามสถานการณ์ นักปราชญ์ชาวแคนาดา Will Kymlicka (1998) ที่ได้มีงานเขียนที่ทั้งสนับสนุนและโต้แย้งเป็นจำนวนมาก
โดยที่ Kymlicka แบ่งปัญหาคนกลุ่มน้อยหรือพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism-อันเป็นแนวคิดที่มองถึงความหลากหลายด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์) ออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
- Multinational คือ ประเทศที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่ต้นได้แก่ รัฐชาติสมัยใหม่เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เรียกว่า new world คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรีเลีย และนิวซีแลนด์
- Polyethnicคือ รัฐที่มีคนต่างเชื้อชาติอพยพเข้ามาใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีฐานะเป็นคนกลุ่มน้อยขึ้นมา เช่น จีน อินเดีย ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
จากความหลากหลายข้างต้น ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรมมีความยืดหยุ่นสูง และเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน แนวทางที่เป็นหลักการสากลคือการเข้าไปส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน โดยมีหลักอาทิ การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง สมาชิกในสังคมควรเปิดใจให้กว้าง เพื่อยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม ทั้งควรยึดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
(ก) เรียนรู้ความแตกต่าง เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่ ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน
(ข) ยึดมั่นในขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลาย
(ค) เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะเย้นถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน
(ง) คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน มีความยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แก่เพื่อนร่วมสังคม ปฏิบัติตามหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น
หลักการดังกล่าวเป็นกติกาเพื่อการปฏิบัติและถูกนำมาใช้ในบรูไนภายใต้แนวคิดสมัยใหม่ ซึ่งส่งผลเป็นหลากความเชื่อ ต่างวิถีแต่อยู่กันได้ภายใต้ความแตกต่างในวิถีเหล่านั้น
- มลายู จีน มิติข้อเท็จจริงของเงื่อนไขสู่พหุวัฒนธรรมในบรูไน
ในประเทศบรูไน ซึ่งเป็นประเทศที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2529 ภายหลังการได้รับเอกราชจากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในระหว่างที่อังกฤษปกครองได้วางรากฐานและแนวทางในการพัฒนาแบบเมืองชายแดน ทำให้บรูไนเป็นเมืองที่ไม่ค่อยได้รับการพัฒนามากในมิติของสังคมการเมือง เศรษฐกิจ แต่อาจมีความเข้มเข้มทางวิถีศาสนาประหนึ่งเมืองชายแดน โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจนและสะท้อนเป็นความแตกต่างเพื่อเชื่อมไปสู่ความเป็นพหุลักษณ์ได้ชัดเจน
ภาพที่ 2 คณะนักวิจัยได้พบกับนักวิชาการด้านศาสนาชาวบรูไน (ที่มา: ภาพผู้วิจัย, 10 มิถุนายน 2016)
จากการศึกษาได้ปรากฏหลักฐานว่าจีนกับบรูไนมีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันมาแต่อดีต นับแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (Western Han Periods) ในช่วงศตวรรษที่ 13-14 (Ministry of Foreign Affairs and Trade (Brunei), 2014) และมีหลักฐานว่าในช่วงศตวรรษที่ 15 สุลต่านแห่งบรูไน อับดุล มาจิด ฮัชซัน (Abdul Majid Hassan) เสียชีวิตระหว่างเดินทางไปยังจีน (Prashanth Parameswaran, 2012) จากหลักฐานเหล่านี้จึงเห็นปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมผ่านเส้นทางการค้า ระหว่างจีนกับบรูไน จนกระทั่งมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในบรูไน ที่สืบค้นพบว่าเข้ามาตามเส้นทางการค้าของจีนในระหว่างยุคอาณานิคมอังกฤษ อพยพตั้งถิ่นฐานจนกระทั่งปัจจุบัน ดังนั้น กลุ่มชาติพันธุ์จีน โดยชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีประชากรร่วมอยู่ประมาณ 10 ของประชากรทั้งหมด (2015) เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนทางการค้า กลุ่มใหญ่สุดคือจีนฮกเกี้ยน ที่มีพื้นถิ่นมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (Fujain) ทางตอนใต้ของจีน Kinmen and Xiamen in China นอกจากนี้ยังมีจีนแคะ และจีนกวางตุ้ง แต่ทั้งหมดก็ผสมรวมกันยืนยันอัตลักษณ์ในแบบชาวจีนที่อยู่กันเป็นชุมชนทางการเมือง พูดภาษาจีนนับถือพุทธศาสนา หรือขงจื้อ ยังปฏิบัติในเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ โดยชาวจีนส่วนใหญ่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวจีนในมาเลเซียและสิงคโปร์ด้วยสำนึกของความเป็นชาวจีนที่แตกต่างเพียงแต่ที่ตั้งแต่สำนึกยังคงอยู่
ในประเด็นความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ในอดีตมีความขัดแย้งที่เป็นความรุนแรงในหลายพื้นที่ดังกรณีชาวพื้นเมืองกับอังกฤษในแอฟริกาใต้ จีนในมาเลเซีย ภายใต้แนวคิด “ภูมิปุตรา” ที่ทำให้ชาวจีนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองต้องออกมาต่อสู้จนกระทั่งกลายเป็นสงครามโจรจีนคอมมิวนิสต์ หรือโจรจีนมลายา หรือกรณีล่าสุดโรฮิงญาในเมียนมาร์ ซึ่งภาพลักษณ์เหล่านี้ส่งผลเป็นความขัดกันในเชิงชาติพันธุ์ศาสนา วิถีความเชื่อและความแตกต่างในลักษณะต่าง ๆ
ภาพที่ 3 กรรมการสมาคมจีน และชุมชนชาวจีน กลางเมืองบันดาเสวีของบรูไน (ที่มา: ภาพผู้วิจัย, 10 มิถุนายน 2016)
- พหุวัฒนธรรมในบรูไนมิติของการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง
จากสภาพข้อเท็จจริงที่พบ ในวิถีความแตกต่างแม้ชาวจีนจะเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศบรูไน แต่ก็มีสิทธิทางความเชื่อและการแสดงออกในวิถีทางศาสนาและความเชื่อในแบบจีนอันสะท้อนให้เห็นถึงอาชีพ การตั้งถิ่นฐานรวมไปถึงการประกอบประเพณีวิถีความเชื่อได้ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้
3.1 พหุวัฒนธรรมทางเชื้อชาติ คือ จากการที่เข้าไปสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศบรูไน สิ่งที่เห็นชัดเจนคือภาพลักษณ์ของความเป็นชาติพันธุ์โดยในบรูไนประกอบด้วยกลุ่มชาติอื่น ๆ อาทิ ชาวจีน ซึ่งอยู่ผสมร่วมกับชาวบรูไนด้วย แต่เมื่อไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นชาวจีนจะพบว่าชาวจีนในบรูไนเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานพร้อมกับความเป็น “อาณานิคม” ที่เป็นระบบแต่เดิม หากจำแนกถึงสถิติการนับถือศาสนานัยหนึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างของชาติพันธุ์ได้ด้วยเช่นกัน อาทิชาวมลายูพื้นเมืองนับถือศาสนาอิสลาม ชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งชาวอินเดียอาจนับถือศาสนาฮินดู สิกข์ บาไฮท์ และชาวต่างชาติอื่นอาจนับถือคริสเตียน คาทอลิก และชาวยิวนับถือศาสนายิวเป็นต้น ดังนั้นในข้อเท็จจริงบรูไนเองมีประชากรที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือพำนักชั่วคราว แต่ก็ได้นำวิถีทางศาสนาบนความแตกต่างมาแสดงออกและปฏิบัติในบรูไนด้วยเช่นกันซึ่งสะท้อนถึงวิถีทางวัฒธรรมและศาสนาที่แตกต่างกันด้วยเงื่อนไขและความเป็นไปได้ในเชิงระบบด้วยเช่นกัน
3.2 พหุวัฒนธรรมทางศาสนา คือ ความหลากหลายของเชื้อชาติทำให้เกิดการนับถือหรือถือปฏิบัติในวิถีที่แตกต่างหมายถึงศาสนาจะเป็นเงื่อนไขของความแตกต่างดังกรณีชาวจีนยังนับถือศาสนาแบบบูชาบรรพบุรุษซึ่งสังเกตเห็นได้ว่าชาวจีนในร้านลูกหลานจีน ก็ยังมีรูปแบบดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์ในร้านค้าที่ไปพบเห็นและเข้าใช้บริการรับประทานอาหาร หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ในส่วนของวิถีมุสลิมก็เห็นว่าทำให้เกิดความแตกต่างในการอยู่ร่วมกันสะท้อนคิดเห็นการอยู่ร่วมกันภายใต้วิถีต่างศาสนาทำให้เกิดการเรียนรู้กลายเป็นพหุลักษณ์ที่แตกต่างแต่ก็อยู่ด้วยกันภายใต้ความแตกต่างหลากวิถีเหล่านั้น
จากข้อมูล Brunei 2017 International Religious Freedom Report (2017) ซึ่งให้ข้อมูลว่าบรูไนมีพื้นที่ 2,200 square miles มีประชากรราว 444,000 คน (กรกฎาคม 2017) มีประชากรที่เป็นมุสลิมราว 349,872 คน หรือประมาณ 78.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นชาวมลายูพื้นเมือง มีจำนวนประมาณ 34,632 นับถือพุทธศาสนา หรือราว 7.8 เปอร์เซ็นต์ เป็นคริสต์ 38,628 คน ราว 8.7 เปอร์เซ็นต์ และมีอีก 4.7 เปอร์เซ็น รวมประมาณ 20,868 คน อาทิ นับถือบาไฮ (Baha’i) นับถือฮินดู (Hindus) นับถือผีวิญญาณ (Atheists) เต๋า (Taoists) สิกข์ (Sikhs) นับถือศาสนายิว (Jews) และนับถือในแบบอื่น รวมถึงไม่มีศาสนา มีสถิติมัสยิดกว่า 109 แห่งทั่วประเทศมีโบสถ์คริสต์ 3 แห่ง และวัดจีนหรือศาลเจ้าจำนวน 3 แห่ง วัดฮินดูของชาวอินเดีย 2 แห่ง เป็นต้น จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายแตกต่างในบรูไนถือว่าเป็นอีกประเทศที่มีวิถีทางศาสนาที่แตกต่างหลากหลายดังนั้นเอกลักษณ์ อันเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนาย่อมมีความจำเป็น และเกิดขึ้นในบรูไน ซึ่งภาคต่อของการเดินทางของคณะนักวิจัยได้ไปบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน ความแตกต่างหลากหลายในวิถีทางศาสนาย่อมเป็นเครื่องยืนยันต่อความเป็นเงื่อนไขและประเด็นทางศาสนาที่แตกต่างกัน จากการสัมภาษณ์นักวิชาการด้านการศึกษาชาวบรูไน และการสัมภาษณ์ชาวจีนก็ให้ข้อมูลในเรื่องการเป็นอยู่ร่วมกันบนฐานของศาสนาที่แม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ปฏิบัติตามหลักของศาสนาที่ตัวเองนับถือนัยหนึ่งไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันและกันและรัฐก็ไม่ได้พยายามเข้ามาควบคุมหรือห้ามปราม หากแต่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ
3.3 พหุวัฒนธรรมทางการศึกษา คือ การออกแบบหลักสูตร ไปสู่การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม กระตุ้นการเรียนรู้พหุวัฒนธรรม และเพื่อรองรับการศึกษาในแบบพหุวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนา ทั้งในเรื่องการดำเนินชีวิต และวิถีธรรมเนียมปฏิบัติต่างวิถีย่อมจะเป็นเงื่อนไข และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในประชาชาติบรูไน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย University of Brunei Darussalam หลายท่านในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การศึกษาชาติบรูไน สู่ความเป็นอาเซียน ในการสัมภาษณ์ทุกท่านจะนำเสนอแนวทางการจัดพหุวัฒนธรรมในการศึกษา (Interview Lecturer A,B,C,D,UBD, 13 June 2016)
ในการศึกษาจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม (Multicultural Education) คือกระบวนการให้การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษาจะต้องช่วยให้เด็ก เยาวชน ประชาชนเข้าใจ ไม่รังเกียจ และยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของความเป็นชนกลุ่มน้อย ด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อ ความเป็นอยู่ เพศ (โดยเฉพาะสตรีในบางประเทศ) ที่อาจจะไม่ได้รับความเท่าเทียมกันในบางเรื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และชุมชน ต้องหาวิธีการให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป เข้าใจ และค่อย ๆ ซึมซับ ยอมรับความแตกต่างดังกล่าว สถานศึกษาส่วนใหญ่จะกำหนดการศึกษาพหุวัฒนธรรม ไว้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เสริมสร้างความเข้าใจดังกล่าวนั้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนของชนกลุ่มน้อยได้แสดงออก เพื่อให้เด็กกลุ่มใหญ่ได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเชื่อที่มีความหลากหลาย ถือเป็นการให้การศึกษาที่มีมุมมองกว้างขวาง แตกต่างไปจากเดิมที่เน้นวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น หากพิจารณาภาพรวมในนโยบายการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมย่อมเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ว่าเป็นกลไกร่วมของการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในองค์รวมเพื่อให้เกิดการหลอมเข้าใจต่อความเป็นประชาชาติพันธุ์ที่แตกต่างภายในประเทศตนเองได้ด้วย
ภาพที่ 4 คณะนักวิจัยได้สัมภาษณ์นักวิชาการ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งชาติบรูไน (University of Brunei Darussalam) คือ Dr.Mulyadhi Kartanegara, Dr.Kathrina, Dr.Osman Bakar, Dr.Abby Tan Chee Hong, and Dr.Pg Norhazlin เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การศึกษาชาติบรูไน สู่ความเป็นอาเซียน แบ่งปันเรื่องแนวทางการจัดพหุวัฒนธรรมในการศึกษา (ที่มา: ภาพผู้วิจัย, 13 มิถุนายน 2016)
อภิปรายผล
ในนามคณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่และสัมภาษณ์นักวิชาการในมหาวิทยาลัย การเข้าสังเกตการณ์ในช่วงเดือนมิถุนายนและเป็นช่วงเดือนรอมฎอนของพี่น้องชาวมุสลิมในประเทศบรูไน ซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์ภายใต้วิถีทางศาสนา แต่ในเวลาเดียวกันก็จะเห็นวิถีความเชื่ออื่นที่ต่างออกไปแต่ก็ใช้ชีวิต ดำเนินชีวิตบนวิถีที่แตกต่างแบบปกติ คณะนักวิจัยได้เข้าไปในเวลานั้นเราจะเห็นร้านค้าที่เปิดขายแต่ไม่เปิดให้นั่งรับประทาน ร้านอาหารที่ขายก่อนเวลาเย็นเพื่อให้คนเตรียมทำอาหารรับประทานที่บ้านแล้วไปปฏิบัติศาสนกิจในยามเย็น รวมทั้งเสียงสวดอาซาน กับการขยับก้าวของชีวิตอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศบรูไน ภาพลักษณ์เหล่านี้ทำให้เห็นเป็นวิถีพหุวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับคน ฉันทนา จันทรบรรจง และสุกัญญา แชมชอย (2555: 135-139) ในงานบันทึกเรื่อง “สถาบันศึกษาศาสตรสุลตานฮัสซานัลบอลคลาหมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสซาลามและคณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย” ที่ให้ข้อมูลว่าสถาบันการศึกษาในบรูไน Institute of Leadership, Innovation and Advancement (ILIA), Universiti Brunei Darussalam “จัดการศึกษาในแบบพหุวิทยาการและพหุภาคส่วน” ภายใต้ความแตกต่างและในความแตกต่างนั้นได้ส่งผลเป็นกลไกร่วมของการอยู่ร่วมกันบนวิถีทางศาสนา ความเชื่อ และชาติพันธุ์ รวมทั้งภายใต้ความแตกต่างหลากหลายเกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขของชีวิตที่เป็นอยู่อย่างเป็นระบบ ชาวมลายู ชาวจีน ชาวอินเดีย และชาวต่างชาติที่มาพำนักอาศัยอยู่ชั่วคราวสะท้อนให้เห็นเป็นมิติของความหลากหลายชัดเจน ทำให้เห็นว่าในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ความแตกต่างหลากหลายนัยหนึ่งเป็นความแตกต่าง ดังที่บรูไนใช้กฏหมาย “ชารีอะห์” ในการบริหารประเทศดังปรากฏในงานของ สามารถ ทองเฝือ (2557) ในเรื่อง “อิสลามการเมืองในการบริหารรัฐสุลต่านบรูไนดารุสสลาม” ที่ให้ข้อมูลว่า “บรูไนดารุสสลามได้ประกาศให้กฎหมายชารีอะห์หรือกฎหมายอาญาอิสลามที่มีผลบังคับใช้ในการบริหารจัดการปกครองบ้านเมืองภายในประเทศของตนเองได้อย่างท้าทายโดยมิได้หวั่นเกรงต่อการกล่าวโจมตีจากประชาคมโลกแต่อย่างใด” ซึ่งงานวิจัยก็ให้ข้อมูลว่านัยหนึ่งเป็นอัตลักษณ์ แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นการสร้างการรับรู้ เพื่อการปรับตัวอยู่ร่วมกันภายใต้ความเป็นไปได้ในความหลากหลายนั้น ทั้งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เป็นพ�
Activate Newspaper to enjoy the full benefits of the theme. We're sorry about this extra step but we built the activation system to prevent
mass piracy of our themes, this allows us to better serve our paying customers.
An active theme comes with free updates, top notch support, guaranteed latest WordPress support.
Please activate the theme! - Click here to enter your code - if this is an error please contact us at contact@tagdiv.com - How to activate the theme
Hola! Would you like to receive automatic updates and unlock premium support? Please activate your copy of Visual Composer.