การสะท้อนคิดประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทยของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยสงฆ์ The Reflection of Learning Experience on Thai Educational System of           Vietnamese Students in Buddhist University

0
1230

การสะท้อนคิดประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทยของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยสงฆ์
The Reflection of Learning Experience on Thai Educational System of  Vietnamese Students in Buddhist University

                                                ดร.ลำพอง กลมกูล Lampong Klomkul, Ph.D
ศูนย์อาเซียนศึกษา ASEAN Studies Centre, MCU
E-mail: research.mcu@gmail.com

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการสะท้อนคิดประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทยของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ใช้การศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตและสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่า นิสิตเวียดนามเป็นหนึ่งในจำนวนนิสิตต่างชาติใน 21 ประเทศ รวมกว่า 1,424 รูป/คน ในปีการศึกษา 2018 ที่เข้ามาศึกษายังมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จากจำนวนทั้งหมด 198 รูป/คน สะท้อนคิดว่า ประเทศไทยมีความสำคัญในฐานะเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์กลางในการศึกษาพระพุทธศาสนา ในส่วนของการจัดการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการและจัดการได้ดีสอดคล้องกับภาระกิจของมหาวิทยาลัย โดยยังคาดหวังว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา พัฒนาระบบการศึกษาให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับช่วงสมัย โดยมีทั้งหลักสูตร สถานที่พัก ทุนการศึกษา เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาและมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในองค์รวมที่ไม่เฉพาะประเทศไทยหรือเวียดนาม

 

คำสำคัญ : ประสบการณ์การเรียนรู้,ระบบการศึกษาของไทย,มหาวิทยาลัยสงฆ์

 

Abstract

This article aims to study the effect of reflection on learning experiences in Thai education system of Vietnamese students in Buddhist universities. Use research papers, observations and interviews.

The study indicated that Vietnamese students are one of the number of foreign students in 21 countries, totaling 1,424 persons / person in the academic year 2018 to study Buddhist University in Thailand. Most of Vietnam Students the 198 persons / some of Studnet reflect that Thailand is important as a country with a large population of Buddhism. It is the center of Buddhist studies. In the field of education management, the university can operate and manage well in accordance with the mission of the university. It is also expected that the university will be the center for the study of human resource development in Buddhism. Develop a diverse education system. Consistent with the period There are even more courses, places for study and resident, scholarships, networking between Buddhist universities and international universities. To serve as a center for the study of Buddhism in a holistic way, not only Thai or Vietnam.

 

Keywords: Learning Experience, Thai Educational System, Buddhist University

 

บทนำ

          จากได้มีโอกาสทำวิจัยเกี่ยวกับระบบการศึกษาของนานาประเทศในอาเซียน เรื่อง The trend of education in the ASEAN country” (2017) และในงานวิจัยเรื่อง An Instructional Model of ASEAN Cross Culture in CLMV Countries for Students in Mahachulalongkornrajavidyalaya University” (2018) ผลคือได้ชุดความรู้บางประการเกี่ยวกับจัดการศึกษาในองค์รวม เมื่อจำเพาะไปที่การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และเวียดนาม จะมีลักษณะใกล้เคียงจะมีความคล้ายกันในบางประการคือการจัดการศึกษาศาสนาสมัยใหม่ในรูปแบบของมหาวิทยาลัย โดยในประเทศไทยได้มีการจัดการศึกษาโดยคณะสงฆ์  และชาวพุทธซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางศาสนาและสังคมเพื่อประโยชน์ทั้งในส่วนของการศึกษาพระพุทธศาสนาและการศึกษาชาติด้วยเช่นกัน  

          มหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยมี 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามหามกุราชวิทยาลัย ก่อตั้งในยุคที่การศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาอิทธิพลพร้อมกับกับการเข้ามาอิทธิพลทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพัฒนาการร่วมกับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน การที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ได้จัดประชุมระดับนานาชาติและประกาศตัวเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ทำให้มีนิสิตต่างชาติทั้งพระภิกษุและฆราวาส จากกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้เข้าศึกษาด้วยจำนวนที่มากขึ้นในแต่ละปี  ดังปรากฏในปีการศึกษาปัจจุบัน 2018 มีนิสิตชาวต่างชาติมาศึกษายังมหาวิทยาลัย 1424 รูป/คน โดยมีนิสิตสัญชาติเมียนมาร์กว่า 685 คน ลองลงมาเป็นลาว 199 รูป/คน และเวียดนาม 196 รูป/คน กัมพูชา 133 รูป/คน รวมไปถึงจากนานาชาติอื่นกว่า 20 ประเทศ อาทิ Usa,Australia, Bangaladesh, Japan, Bhutan, China, Eangland, Russia, Estonia, India, Indonesia, South Korea, Srilanka Taiwan,Napal,Malaysia เป็นต้น ที่รวมกันแล้วกว่า 200 รูป/คน (ดังปรากฏตามภาพสถิติ Figure 1) จากข้อมูลที่ปรากฏจำเพาะไปที่นิสิตเวียดนาม ซึ่งเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์จากประเทศเวียดนามและเป็นทรัพยากรบุคคลทางศาสนาที่ยังต้องได้รับการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งในบทความนี้จึงประสงค์ศึกษาทัศนะคติความคิดเห็นของนิสิตในฐานะผู้เข้าเข้ามาศึกษาว่ามีความเห็น ความต้องการ และความคาดหวังอย่างไร ต่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย  เพื่อนำมาเป็นข้อมูลปรับนโยบาย ทิศทางของการศึกษาพระพุทธศาสนาและสาขาอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในอนาคตต่อไปได้ ทั้งจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อรองรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในระดับนานาชาติ และการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานานาชาติต่อไป 

         

พัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย

          มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว รัชกาลที่ 5 (King Chulalongkorn or Rama V, 1 October 1868 – 23 October 1910) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงสถาปนาไว้ให้คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เมื่อ ค.ศ.1887/2430 และเฉลิมนามของพระองค์ไว้เป็นหลักฐานว่าเป็นผู้ก่อตั้งในนาม “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ส่วนอีกแห่งเป็นมหาวิทยาลัยมหามกฎราชวิทยาลัย (Mahamakut Buddhist University) เมื่อ ค.ศ.1893/2436 โดยใช้พระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (King Mongkut or Rama VI, 2 April 1851 – 1 October 1868) ผู้เป็นพระราชบิดาเป็นการถวายเฉลิมพระเกียรติให้กับพระองค์ท่านในฐานะผู้ก่อพระพุทธศาสนานิกายธรรมยุติกนิกายในขณะที่ทรงผนวชอยู่ และให้จัดการศึกษาสงฆ์สำหรับฝ่ายธรรมยุติด้วย  โดยมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง มีหน้าที่และพันธกิจที่ปรากฏในงานของพระสุรินทร์ โสธโร (Phra Surin Sodharo 2558 : 105-113) ในเรื่อง “The Role of Buddhist University and the Establishment of Buddhism” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสงฆ์ในประเทศไทยไว้ว่า

การศึกษาสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญจึงได้ปฏิรูปการศึกษา จัดการเรียนการสอนให้เป็นระบบเหมือนนานาอารยประเทศ ให้ราษฎรทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีระบบและสำหรับพระภิกษุสามเณร พระองค์ทรงสนับสนุนให้คณะสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงสมัยใหม่ควบคู่กันไป ได้ทรงตั้งสถาปนา มหาธาตุวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2432 ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานทีศึกษาของพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในด้านพระพุทธศาสนาและวิชาการชั้นสูง และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการการจัดการเรียนการสอน ในปี พ.ศ.2490 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกและในปี พ.ศ. 2504 ได้เปิดคณะที่ 2 คือ คณะครุศาสตร์ และปัจจุบันนี้ได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนมาเป็นลำดับ โดยมีทั้งหมดจำนวน 4 คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย  ซึ่งการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มีสาขาที่หลากหลาย นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยมีวิชาวิปัสสนากรรมฐานที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ตามหลักคำสอนพุทธศาสนาโดยนิสิตระดับปริญญาตรีจะต้องเรียนในรายวิชาเป็นภาคบังคับแล้ว ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานปีละ 10 วัน ในภาคปฏิบัติจนกว่าจบการศึกษาตามหลักสูตรและหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธจะต้องเข้าใจและเข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงได้…”

          หรือในงานของหัฎกรณ์ แก่นท้าว (Hatthakorn Kaentao,2015 : 1-3) ในเรื่อง การพัฒนาบทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ของรัฐเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน-The Development of the Roles of State Buddhist University for Supporting ASEAN Community” ที่เสนอเป็นแนวคิดจากผลการศึกษาว่า

“บทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ของรัฐ ในการดําเนินการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน นั้นสามารถทำได้โดยการผลิตบัณฑิต พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน, การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา องค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยพระพุทธศาสนานานาชาติ, การบริการวิชาการด้าน พระพุทธศาสนาแก่ชุมชนและสังคมระดับชาติและนานาชาติ, การทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาและ ศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล… โดยในการผลิตบัณฑิตควรให้มีอัตลักษณ์ที่พึ่งประสงฆ์และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ประเทศชาติและอาเซียน ด้าน การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยพระพุทธศาสนานานาชาติด้วย การผลิตผลงานและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนา การประยุกต์หลักธรรมที่เน้นความ เป็นไทยและอาเซียน ด้านการบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนและสังคมระดับชาติและ นานาชาติด้วยการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางในการบริการวิชาการแก่คณะสงฆ์สังคม และ อาเซียน ด้านการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ด้วยการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น แหล่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับการผสมผสานทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยผสมผสานกับวัฒนธรรมอาเชียน ด้านการบริหารจัดการตาม หลักธรรมาภิบาล ด้วยการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการ เพื่อยกฐานะ มหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับโลก…”

 

          ดังนั้นหากศึกษาถึงพัฒนการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ และบทบาทของมหาวิทยาลัยคือการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านพระพุทธศาสนาให้กับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยรูปแบบของการศึกษาการศึกษาสงฆ์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง นับเป็นพัฒนาการทางการศึกษาสงฆ์และประเทศไทยที่มาพร้อมกับการเข้ามาของอาณานิคมตะวันตก ที่มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทยต้องปรับตัวด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษาด้วย  โดยจากหลักฐานที่ปรากฏมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งมีพันธกิจในเรื่องการจัดการศึกษาแต่ในเวลาเดียวกันก็ได้พยายามจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งทำให้มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความเข้มแข็งให้พระพุทธศาสนาในองค์รวม ดังกรณีที่มีการจัดการประชุมผู้นำชาวพุทธ จัดประชุมเครือข่ายทางด้านพระพุทธศาสนาระหว่างนิกายอื่น ๆ หรือศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย นัยหนึ่งเพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย นัยหนึ่งเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างมหาวิทาลัยร่วมกัน ระหว่างพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ในนานาประเทศ รวมทั้งมีการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาพระพุทธศาสนาร่วมกันด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิสาขบูชาโลกรูปภาพที่เกี่ยวข้องFigure 1  บทบาทมหาวิทยาลัยสงฆ์ในการจัดการศึกษา และจัดประชุมในระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ (Figure 1 Mcu Online, 10 October 2018)

การพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก

          การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อยกระดับให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระพุทธศาสนาโลก เป็นนโยบายและแนวคิดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ดังที่มีการจัดการประชุมผู้นำการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลก (World Buddhist Summit,2543), การประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก  (The Parliament  of the World’s Religions,2544) การประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนโลกเพื่อสันติภาพ (Asia-Pacific World Youth Peace Summit,2547) การประชุมเถรวาทและมหายาน (International Conference on Theravada and Mahayana Buddhism,2004) การประชุมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก (World Buddhist University) รวมไปถึงการประชุมวิสาขบูชาโลกตั้งแต่ 2547 และต่อเนื่องมาตลอดทุกปี (International Vasak Day)  เป็นต้น และการประชุมร่วมกับศาสนาอื่น ๆ ในหลายครั้ง  อาทิ Interfaith Dialogue of Religious Leaders  for Peace in Asean Community (Editorial Team, 110-115)  การประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1 เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา โดยมีผู้นำศาสนาจาก 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน 80 คน รวมถึงคนไทยร่วมงานประมาณ 500 คน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  รวมทั้งการประกาศแนวคิดในเรื่องการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ทำให้ประเทศไทย ถูกกล่าวถึงในแวดวงศาสนา โดยเฉพาะการศึกษาของพระพุทธศาสนา ที่กลายเป็นหุ้นส่วนสำคัญทางด้านการจัดการศึกษาและเป็นพันธกิจสำคัญในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาพระพุทธศาสนาในนานาประเทศด้วย  จึงเกิดการขยายตัวของมหาวิทยาลัยสงฆ์ เตรียมความพร้อมคณาจารย์บุคคลากร เพื่อรองรับการจัดการศึกษาในอนาคต ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ความเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ  

 

ความเป็นนานาชาติกับความเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา

การที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ และพันธกิจในความเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากเดิมโดยเป็นการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อกลุ่มชาวพุทธ และนิสิตจากต่างชาติ จึงมีการพัฒนาหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ มีการจัดบุคลากรไปเสริมสร้างด้านการศึกษาในต่างประเทศโดยเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ อาทิ ส่งผู้บริหารคณาจารย์ไปเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ หรือสนับสนุนให้คณาจารย์ไปศึกษาในต่างประเทศอาทิ ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา โดยมีฐานเป็นภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้มีการจัดการศึกษาเพื่รองรับนิสิตจากต่างชาติมากขึ้น ดังที่ปรากฏในปัจจุบันนิสิตนานาชาติมาศึกษาในประเทศไทยมีมากขึ้น โดยเฉพาะนิสิตจากประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา บังคลาเทศ และประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา โดยพิจารณาได้จากสถิติที่มีการเปิดหลักสูตรเพื่อรองรับนิสิตจากนานาชาติ ดังสถิติที่ปรากฏในปัจการศึกษา 2018 ดังปรากฏ (ตามภาพ)

 ในภาพอาจจะมี ข้อความ

 Figure 2 : Statistic of Vietnam Student in MCU in More Than 1400 person of Student from Many Country (Source: Registration Affair of MCU University , Year 2018)

         

จากแผนภาพ 2 สถิติรายประเทศของนิสิต จะพบว่าในปีการศึกษา 2018 มีนิสิตนานาชาติจำนวน รวมกว่า 1,424 รูปคน จากจำนวน 21 ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก โดยมีนิสิตชาวเวียดนามที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์จำนวนทั้งสิ้น 196 รูป/คน โดยศึกษาในสาขาต่าง ๆ ทั้งหลักสูตรที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 151 รูป/คน เรียนในหลักสูตรภาษาไทยจำนวน 5 รูป/คน ในระดับปริญญาโท จำนวน 31 รูป/คน เรียนในหลักสูตรภาษาไทย จำนวน 8 รูป/คน และในระดับปริญญาเอก จำนวน 14 รูป/คน เรียนหลักสูตรภาษาไทย 1 รูป  โดยเป็นพระภิกษุและนิสิตชายจำนวน 161  รูปคน และเป็นภิกษุณี และผู้หญิงจำนวน 35 รูป/คน ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่เรียนในหลักสูตรที่เป็นภาษาอังกฤษ ในคณะมนุษย์ศาสตร์ คณะพุทธศาสนา และวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ  และเรียนในสาขาต่าง ๆ อาทิ Buddhist Psychology, Camparative Religion, English, Linguistices, Philosophy, Public Administration, Tipitaka Studies, Vipasana Meditation,Buddhist Educational Administration ,Buddhist Studies, Buddhism, Mahayana Studies, Religion, โดยส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดการศึกษาให้  นัยหนึ่งเป็นการนำนิสิตมาพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน โดยมีเพียงส่วนน้อยเรียนที่ศึกษาในหลักสูตรที่เป็นภาษาไทย ซึ่งข้อดีคือนิสิตเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดศูนย์ภาษาที่จัดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ และมีการจัดหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนิสิตที่ประสงค์เรียนรู้ภาษาไทยก็มี ดังนั้นในหลักสูตรทั้งหมดที่ทางมหาวิทยาจัดการศึกษาจึงมีเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ร่วมและปรับตัวทางวัฒนธรรม เสริมสร้างทักษะในการปรับตัว เพราะนิสิตที่มาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนใหญ่แม้จะเป็นนิสิตชาวไทย แต่ในจำนวนกว่าหนึ่งพันรูปนั้นก็เป็นต่างชาติ ทำให้จำเป็นต้องเกิดการเรียนรู้ สู่การปรับตัวทางวัฒนธรรม ความต่างและเปิดใจยอมรับทั้งในส่วนของชาติพันธุ์ วัฒนธรรมทางภาษา มิติความต่างทางศาสนาที่นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้ นัยหนึ่งเป็นการปรับตัวยอมรับความแตกต่างหลากหลายเป้าหมายเพื่อการอยู่ร่วมกันในมิติที่แตกต่างได้ด้วยเช่นกัน  

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังนั่ง และสถานที่ในร่มในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง, หน้าจอ และสถานที่ในร่ม

Figure 3 : Interviews Nguyen Vaw Nam and  Vietnam Students in Buddhist University in Thailand (Source: MCU, 19 October 2018)

จากภาพที่ 3  ผู้เขียนได้พบและสัมภาษณ์นิสิตชาวเวียดนามในหลาย ๆ ครั้ง จากการและสัมภาษณ์ถึงประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย เพื่อแสวงหาข้อมูลเป็นการสะท้อนคิดนำกลับไปเป็นข้อมูลความรู้ และพัฒนาสู่การเป็นข้อเสนอในการนำไปพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาร่วมกันระหว่างประเทศไทย และนานาชาติในกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ตามเป้าหมายและพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้ด้วยเช่นกัน 

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง, ผู้คนกำลังกิน, ตาราง และอาหารในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังกิน, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และอาหาร

Figure 4 : สังเกตและสัมภาษณ์นิสิตชาวเวียดนามที่เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย เพื่อทราบถึงการเป็นอยู่ทัศนะคติ และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมการปรับตัวในการเรียนรู้ (Source: MCU, 8 October 2018)

 

จากภาพ 4  ผู้วิจัย ได้เข้าไปพบสัมภาษณ์พูดคุย ถึงการเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตของนิสิตโดยเฉพาะนิสิตเวียดนาม พบและเห็นถึงวัฒนธรรมอาหาร การเป็นอยู่ ทั้งการอยู่อาศัยในหอพัก การดำเนินชีวิต การปรับตัวภายใต้รูปแบบทางสังคมอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากวิถีทางวัฒนธรรมแบบเดิม อาทิอาหาร รสชาติอาหาร ชนิดของอาหาร รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์และมุมมองค่านิยมทางศาสนากับภาพลักษณ์เรื่องการแต่งกาย วัฒนธรรมทางภาษานัยหนึ่งจึงเป็นการเรียนรู้ อีกนัยหนึ่งเป็นการปรับตัวภายใต้วัฒนธรรมอย่างใหม่ ส่งเสริมให้เป็นพลวัฒน์ร่วมกันทางสังคม ทั้งสังคมไทยสำหรับนิสิตและนิสิตนานาชาติที่มีความเป็นพหุลักษณ์ ทั้งในแบบพุทธเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ซึ่งเกิดขึ้นและจะเป็นกลไกผสมรวมอยู่ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยภายใต้การจัดการศึกษาเพื่อรองรับความเป็นศูนย์กลางความเป็นพระพุทธศาสนานานาชาติอยู่ในปัจจุบัน

 

การสะท้อนคิดของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยสงฆ์กับประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย

          จากการได้สัมภาษณ์พูดคุยกับนิสิตที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีที่เป็นเวียดนาม ได้สะท้อนคิดออกมาจากประสบการณ์ตรงในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้สอนในหลักสูตรนานาชาติและได้มีโอกาสพูดคุยสัมภาษณ์กับนิสิตต่างชาติโดยเฉพาะเวียดนามในต่างกรรมต่างวาระกัน ซึ่งสามารถถอดออกมาเป็นชุดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ได้คือ 

(1) ระบบการศึกษา นิสิตที่มาเรียนส่วนใหญ่จะมีทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย ด้วยภาพลักษณ์และการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในระดับนานาชาติผ่านการประชุมในโอกาสต่าง ๆ อาทิ การประชุมในวันวิสาขบูชาโลก (Vasak Day) ของแต่ละปี รวมทั้งมีการก่อตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก  (International Council for The Day of Vesak: ICDV)  การก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา (International Association of Buddhist Universities:IABU) และมีศูนย์ประสานงานอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งจัดให้มีการประชุมผู้นำสงฆ์ในแต่ละปีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทำให้ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ปกครองสงฆ์ในเวียดนาม จึงแนะนำลูกศิษย์หรือนิสิตจากเวียดนาม มาศึกษายังมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ((Ven.Tran Ngoc Duy, Ven.Nguyen Hoang Vu, Ven.Nguyen Tuong Trinh, Ven.Nguyen Van Nam และ Ven.Nguyen Duy Trong, interview)  ในส่วนระบบสอดคล้องกับการมาศึกษาด้วยเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสตร์ที่ร่วมสมัยสอดคล้องกับความสนใจของผู้มาเรียนโดยเฉพาะนิสิตพระภิกษุ แม่ชีที่มาจากเวียดนาม รวมทั้งเมื่อมาศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วเมื่อกลับไปก็เป็นบุคคลากรทางด้านศาสนาในประเทศเวียดนาม มหาวิทยาลัยจึงได้รับการประชาสัมพันธ์บอกต่อ อันมีผลต่อจำนวนนิสิตที่เพิ่มตามสถิติในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง   

(2) ความเป็นอยู่ ในส่วนของการเป็นอยู่เมื่อสัมภาษณ์จะพบว่านิสิตเวียดนามพึงใจต่อสถานภาพของการที่อยู่อาศัย ทั้งในฐานะที่เป็นที่อยู่ทางกายภาพ อันประกอบด้วยหอพัก อาคารสำหรับศึกษาหาความรู้ รวมทั้งองค์ประกอบทางด้านกายภาพอื่น ๆ ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้อง อาจมีบางประเด็น เช่น การเดินทางระหว่างเมืองเมื่อต้องไปทำหนังสือ ต่อวีซ่า แต่ก็เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อย ซึ่งภายในมหาวิทยาลัยที่มีที่พักสำหรับนิสิตทั้งไทยและนานาชาติ มีโรงอาหารสำหรับฉันให้กับนิสิตทุกคนที่มาศึกษาภายในมหาวิทยาลัย มีสถานที่ประกอบพิธีกรรมและศาสนกิจ ที่เอื้อต่อทุกพุทธพิธีกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น โดยรวม ทำให้การเป็นอยู่ ดำเนินชีวิตเอื้อต่อการเรียนรู้และปรับตัวภายใต้วัฒนธรรม และการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย (Ven.Tran Ngoc Duy, Ven.Nguyen Hoang Vu, Ven.Nguyen Tuong Trinh, Ven.Nguyen Van Nam และ Ven.Nguyen Duy Trong, interview) 

(3) วิถีวัฒนธรรม ประสบการทางวัฒนธรรม หรือการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เพื่อการปรับตัว จากเข้าร่วมสังเกตและมีส่วนร่วมกับนิสิตในการเรียนรู้เรื่องการปรับตัว จะพบว่าเรียนรู้ได้ดี และปรับตัวในการอยู่ศึกษาเรียนรู้ได้ ทั้งในส่วนที่ตั้งของมหาวิทยาลัย การเรียนการสอน หลักสูตร และองค์ประกอบทางกายภาพอื่น ๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานของ สุเทพ สารบัญ (Suthep Saraban,2015) ในงานวิจัยเรื่องA Study of Education Preparation for ASEAN Community of Mahachulalongkornrajavidyalaya University-การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ” ที่นำเสนอแนวคิดในเรื่อง “การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ที่ให้ข้อมูลในส่วนของหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการสอน หลักสูตร  เพื่อเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนใน 3 เสาหลักคือ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านการเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องการให้มีเอกภาพ ภราดรภาพ ภายใต้ปรัชญาที่ว่า หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” ซึ่งในงานวิจัยได้สะท้อนว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการอยู่แม้มีอุปสรรคบ้าง แต่เมื่อสะท้อนคิดจากนิสิตในการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวทางวิถีวัฒนธรรม และประสบการณ์ทางวัฒนธรรมได้สะท้อนคิดไว้ว่า เป็นการเรียนรู้ข้ามวิถีทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง แม้มหาวิทยาลัยสงฆ์จะมีลักษณะร่วมจะเป็นพระพุทธศาสนา แต่ในความแตกต่างทางนิกาย วิถีความเชื่อ ภาษา พื้นถิ่นของการเกิด รวมทั้งเอกลักษณ์ทางศาสนาที่แตกต่าง ทำให้นัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้ อีกนัยหนึ่งเป็นการปรับตัวทางวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมทางภาษา ที่ทำให้นิสิตต้องเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นเพื่อสื่อสารกับเพื่อนต่างชาติและนิสิตชาวไทย สอดคล้องกับงานวิจัยของ Phramaha Hansa Dhammahaso เรื่อง  “The Preparation of MCU Language Institute for ASEAN Economic Community” (Phramaha Hansa Dhammahaso and Others,2014) นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหาร ที่แตกต่างในเรื่องรสชาติวัสดุที่นำมาปรุง รวมไปถึงเมื่ออยู่อาศัยร่วมกันในหลากหลายประเทศ ทำให้ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น  ๆที่นอกเหนือจากประเทศอันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้วย ที่เป็นทั้งประสบการณ์ การเรียนรู้ และการข้ามผ่านทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน (Ven.Tran Ngoc Duy, Ven.Nguyen Hoang Vu, Ven.Nguyen Tuong Trinh, Ven.Nguyen Van Nam และ Ven.Nguyen Duy Trong, interview) 

(4) แนวคิดในการพัฒนาหรือสิ่งที่ต้องการปรับปรุง  การสะท้อนคิดของนิสิตมีทิศทางและแนวคิดไปในทิศทางทางใกล้เคียงกันคือ พัฒนาระบบการศึกษาให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับช่วงสมัย โดยมีทั้งหลักสูตร สถานที่พัก ทุนการศึกษา เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาและมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในองค์รวมที่ไม่เฉพาะประเทศไทยหรือเวียดนาม (Ven.Tran Ngoc Duy, Ven.Nguyen Hoang Vu, Ven.Nguyen Tuong Trinh, Ven.Nguyen Van Nam และ Ven.Nguyen Duy Trong, interview) โดยแนวคิดนี้ปรากฏในงานของ  Hatthakorn Kaentao, (2015) ในเรื่อง “The Development of the Roles of State Buddhist University for Supporting ASEAN Community” ที่เสนอว่ามหาวิทยาลัยควรมีการปรับตัวในส่วนกลไกเพื่อรองรับความเป็นสังคมนานาชาติมากขึ้น หรือในแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีการเสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ในระดับนานาชาติขึ้นไปอีก และปรากฏในข้อมูลแนวคิดของพระพรหมบัณฑิต (Phra Brahmapundit [Prayoon Dhammacitto], 2011) อดีตอธิการบดี ได้เคยปาฐกถาไว้ ในเรื่อง “Strategy for the development of Buddhist universities” ที่มีแนวคิดจะผลักดันและขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ผ่านการจัดตั้ง วิทยาพุทธศาสตร์นานาชาติ (Buddhist Studies Collage) การประชุมผู้นำชาวพุทธ (Buddhist Summit) การก่อตั้ง IABU และ ICDV และมีสามาชิกกว่า 116 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมีมหาวิทยาลัยสมทบในประเทศต่าง ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ สิงคโปร์ ไต้หวัน ศรีลังกา เกาหลี ฮังการี เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดข้อเสนอของนิสิตเวียดนามในการสัมภาษณ์และนำมาเขียนเป็นบทความนี้ด้วยเช่นกัน    

          จากข้อมูลเป็นการสะท้อนคิดในประสบการณ์ของนิสิตเวียดนามนัยหนึ่งเป็นข้อเท็จจริงในการอยู่อาศัย  อีกนัยหนึงเป็นการให้ข้อมูลเพื่อการปรับตัวและการเรียนรู้ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายทำให้เกิดกลไกร่วมในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมและประเทศชาติในองค์รวม ที่จะส่งต่อเป็นกลไกการพัฒนาระบบในองค์รวมของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติให้ยิ่งขึ้นไปอีก

 ผลได้จากนิสิตเวียดนามต่อองค์ความรู้ด้านเวียดนามศึกษาในประเทศไทย

การที่มีนิสิตเวียดนามมาศึกษาในประเทศไทย ทำให้พบว่าการศึกษาและเห็นพัฒนการของการนิสิตจากเวียดนามจะพบว่า มีนิสิตเวียดนามหลายท่าน ได้สร้างและพัฒนาองค์ความรู้จากการงานวิจัยเกี่ยวกับเวียดนาม ทั้งในด้านอาณาบริเวณศึกษาหรือเวียดนามศึกษา หรือพระพุทธศาสนาเชิงพื้นที่สะท้อนองค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจากประเทศเวียดนามให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และสังคมที่ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ ดังปรากฏในงานของ Huynh Kim Lan (2010) ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับ Theravada Buddhism in Vietnam รวมถึงในงาน Ven. Dao Minh Van (2017) The Theravāda Buddhist Education System in Southern Vietnam and Its Contribution to the Society (Buddhist Studies) หรือในงานของ Phra Huynh Minh Thuan (Bhikkhu Santadatta) Theravāda Upasampadā in Vietnam: A Study based on Vinaya Perspective หรือในงาน Phan Tai Thuc (Ven. Thích Tâm Thức) (2017) เรื่อง The Practical of Pure Land Buddhism in Modern Society : A Case Study of Hoang Phap Monastery in Vietnam รวมไปถึงงานของ Phan Tai Thuc (Ven. Thích Tâm Thức) (2017) ในงาน The Practical of Pure Land Buddhism in Modern Society : A Case Study of Hoang Phap Monastery in Vietnam โดยงานวิจัยทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการศึกษาของพระพุทธศาสนาในพื้นที่เวียดนาม ซึ่งทำให้เห็นว่าพระภิกษุเวียดนามที่มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นตัวแทนในการสร้างองค์ความรู้ด้านอาณาบริเวณศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามให้กับประเทศไทยและแวดวงวิชาการนานาชาติ หรือในงานของ Ven . Tran Duy Hieu. (2008/2551) ที่ทำการศึกษา A Study of Annam-Nikaya in Thailand   ถึงจะเป็นการศึกษาของพระภิกษุเวียดนามและศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทยนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศไทย แต่ก็ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของพระพุทธศาสนาแบบเวียดนามในประเทศไทยให้กับประชาคมพุทธศาสนาและชาวเวียดนามได้องค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเชิงพื้นที่อันเนื่องด้วยเวียดนามเช่นกัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยก็ได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ทางศาสนาให้กับสังคมเวียดนามได้มีความรู้เพื่อนำกลับไปพัฒนาพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามให้เกิดขึ้นในองค์รวมตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้วย รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาจากประเทศเวียดนามสู่สาธารณะ หรือการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปสู่นานาชาติในรูปแบบของการสื่อสารการเขียน การวิจัย จากพัฒนาการของหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยจัดขึ้นด้วยเช่นกัน

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังนั่งในภาพอาจจะมี 2 คน, ฝูงชน และสถานที่ในร่ม

Figure 5  มหาวิทยาลัยโดยศูนย์อาเซียนศึกษา ได้ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาข้ามวัฒนธรรมระหว่างนิสิตไทย กับพื้นที่ทางวัฒนธรรมในประเทศเวียดนาม (Source: ASEAN Studies Centre, 13 September 2018)

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่กลางแจ้งในภาพอาจจะมี 4 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง, ผู้คนกำลังกิน, ตาราง และอาหาร

Figure 6 :  Interview Prof. Dr. Le Manh That, Vice President, Vietnam Buddhist University ถึงการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม รวมทั้งทิศทางการส่งเสริมการศึกษาร่วมของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย (Source: Ho Chi Minh, 10 November 2017)

          ในอีกด้านหนึ่งจากภาพที่ 5-6 ก็นับเป็นพัฒนาการของการศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่ได้พยายามส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในแบบแลกเปลี่ยน การเรียนรู้แบบข้ามเขตแดนไปสู่การศึกษาหาความเหมือนเป็นวัฒนธรรมร่วมดังปรากฏในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเวียดนามและไทย การที่ผู้เขียนเป็นผู้บริหารในศูนย์อาเซียนศึกษาและทำวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะในประเด็นทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้สำหรับนิสิตในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งที่เป็นนิสิตไทยและนานาชาติได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นประสบการณ์ตรงในพื้นที่ทางวัฒนธรรมศาสนาของประเทศเวียดนามด้วย นับเป็นพัฒนาการที่เกิดจากองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศเวียดนามในส่วนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้ส่งเสริมและจัดทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเวียดนาม และเวียดนามเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย เพื่อเป็นการศึกษาในเชิงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเชิงของการสร้างพัฒนาการของการปรับตัวภายใต้กลไกทางการจัดการร่วมกัน ทั้งในส่วนเวียดนามกับการเรียนรู้ประเทศไทย และไทยกับการเรียนรู้เวียดนามเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการพัฒนการศึกษาร่วมกันระหว่างรัฐกับรัฐระหว่างประเทศไทยกับประเทศไทย  นับเป็นผลิตผลและผลได้ที่เกิดขึ้นสำหรับนิสิตเวียดนามในประเทศไทย และนิสิตไทยไปสู่การเรียนรู้ของเวียดนามในแบบของการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และวัฒนธรรมศาสนาเปรียบเทียบด้วยเช่นกัน  

 Conclusion

          การสะท้อนคิดจากประสบการณ์ตรงของนิสิตเวียดนามที่มาศึกษาในประเทศไทยในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย จากจำนวนทั้งหมด 198 รูป/คน มองว่าประเทศไทยมีความสำคัญในฐานะ ที่จะเป็นศูนย์กลางในการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ รวมทั้งไทยเป็นประเทศที่พลเมืองเป็นสัดส่วนที่มากสุดในกลุ่มประชาคมที่นับถือพระพุทธศาสนา ในการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย นิสิตส่วนใหญ่คาดหวังว่า มหาวิทยาลัยได้แสดงบทบาทการเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา จะดีขึ้นถ้ามีการจัดการศึกษาเพื่อรองรับความหลากหลายทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อรองรับต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  ทั้นในส่วนของหลักสูตร แหล่งทุนที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษา การสร้างพันธกิจเชิงเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน เพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของชาวพุทธและประชาคมที่สนใจและประสงค์ศึกษาพระพุทธศาสนา

          นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ยังเป็นความคาดหวังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา พร้อมนำองค์ความรู้นั้น ไปสนองใช้พัฒนาประเทศที่เป็นต้นทางของนิสิต และที่สำคัญจะทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยพระพุทธสาสนาในประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ให้มีเอกภาพภายใต้ความหลากหลายร่วมกัน บทความนี้จึงเป็นการศึกษาถึงแนวคิด ความคาดหวัง และทิศทางของการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ผ่านการเล่าเรื่องของนิสิตเวียดนามที่ใช้ชีวิตในฐานะนิสิตในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่จะส่งผลถึงการเรียนรู้วัฒนธรรม ภาษา การปรับตัว เพื่อให้นิสิตได้นำองค์ความรู้กลับไปพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติที่เป็นต้นธารของเขาเหล่านั้น และในส่วนของมหาวิทยาลัยก็จได้แสวงหาแนวทางในการพัฒนาทั้งในส่วนกลไก หลักสูตร และแนวทางในการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเป้าประสงค์ของระบบพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติด้วย

 

References

Dao Minh Van. (2017). The Theravāda Buddhist Education System in Southern Vietnam and Its Contribution to the Society. Thesis of Master Degree (Buddhist Studies),Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya Univerisity.

Editorial Team. (201).Interfaith Dialogue of Religious Leaders  for Peace in Asean Community.  Journal of Mcu Peace Studies  2 (2) 110-115.

Huynh Kim Lan. (2010). Theravada Buddhism in Vietnam. Thesis of Master Degree (Buddhist    Studies),Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya Univerisity.

Phra Huynh Minh Thuan (Bhikkhu Santadatta). (2017). Theravāda Upasampadā in Vietnam: A   Study based on Vinaya Perspective. Master of  Degree of Arts (Buddhist Studies)  Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Surin Sodharo. (2558).  The Role of Buddhist University and the Establishment of Buddhismบทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์กับการจรรโลงพระพุทธศาสนา. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU. 2 (3) September-December 2558 : 105-113.

Phan Tai Thuc (Ven. Thích Tâm Thức). (2017). The Practical of Pure Land Buddhism in         Modern Society : A Case Study of Hoang Phap Monastery in Vietnam. A Thesis for          Master Degree of Arts (Buddhist Studies) Graduate School        Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Hansa Dhammahaso and Others. (2014).The Preparation of MCU Language          Institute for ASEAN Economic Community. Language Institute of       Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto).(2011). Strategy for the development of Buddhist universities”  Online : http://www.mcu.ac.th/site/pres_info_content_desc.php?p_id=13. 10 Octorber 2018

Suthep Saraban. (2015) ในงานวิจัยเรื่อง“A Study of Education Preparation for ASEAN

          Community of Mahachulalongkornrajavidyalaya University-การเตรียมความพร้อมด้าน

          การศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต

          ภาคเหนือ”. Journal of Social Academic,Rajabhat Chaignrai University, 8 (3) : June-

          September :

Tran Duy Hieu. (2008/2551). A Study of Annam-Nikaya in Thailand.  The Degree of

          Master           of Arts  (Buddhist Studies)  Graduate School : ahachulalongkornrajavidyalaya    University

Interview

Ven.Tran Ngoc Duy, MCU Student, 19 October 2018 

Ven.Nguyen Hoang Vu, MCU Student, 19 October 2018 

Ven.Nguyen Tuong Trinh, MCU Student, 19 October 2018 

Ven.Nguyen Van Nam, MCU Student, 19 October 2018 

Ven.Nguyen Duy Trong, MCU Student, 19 October 2018 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here