ประวัติการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies Centre)
ศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นส่วนงาน ๑ ใน ๓ ส่วนงานที่ตั้งขึ้นใหม่ ที่มีสถานะเทียบเท่ากับคณะศูนย์ (ศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและวิทยาลัยพระธรรมทูต) ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๓๔ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ง วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระเดชพระคุณพระราชวรเมธี, ดร. (ประสิทธิ์พฺรหฺมรํสี) รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รักษาการผู้อํานวยการศูนย์อาเซียนศึกษา รูปแรก ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจ อํานาจ หน้าที่ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเรื่อง ภารกิจอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัยพ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังนี้
“ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่ายการศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน คอยประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน แบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. ส่วนงานบริหาร มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการของศูนย์บริหารวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งการบริการจัดการภายในออกเป็น ๒ กลุ่มงาน คือ
๑.๑ กลุ่มงานบริหาร ปฏิบัติงานด้านธุรการ ประสานงานด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชีพัสดุ นโยบายและแผนพัฒนา รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๑.๒ กลุ่มงานวางแผนและพัฒนาเครือข่าย ปฏิบัติงานด้านการวางแผน งานโครงการและกิจกรรมต่างๆ พัฒนาเครือข่าย สร้างความร่วมมือแบบพหุภาคีระหว่างส่วนงานของมหาวิทยาลัยและประชาคมอาเซียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๒. ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย จัดระบบสารสนเทศ และให้บริการวิชาการองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๒.๑ กลุ่มงานวิจัยและสารสนเทศ ปฏิบัติงานส่งเสริมการทําวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้พร้อมนําลงสู่การปฏิบัติที่จริง บริหารและติดตามงานวิจัย จัดระบบสารสนเทศเพื่อเป็นคลังข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๒.๒ กลุ่มงานบริการวิชาการ ปฏิบัติงานให้บริการวิชาการเกี่ยวกับองค์ความรู้ของประชาคมอาเซียน เผยแพร่องค์ความรู้สู่พื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมการเรียนรู้การฝึกอบรม การสื่อสารกับสังคม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย”
จากภารกิจดังกล่าว ศูนย์อาเซียนศึกษาจําเป็นต้องกําหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองกับการดําเนินงานของศูนย์ให้สําเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายของการจัดตั้งศูนย์เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัยทางพระพุทธศาสนา โดยมีโครงสร้างของศูนย์อาเซียน ดังนี้
ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นเพื่อมีภารกิจ อํานาจ หน้าที่ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง ภารกิจ อํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ โดยที่ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย การศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน คอยประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน และแบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน และในแต่ละส่วนงานมีสภาพการดําเนินงานปัจจุบันดังนี้
๑. ส่วนงานบริหาร ในขณะนี้ได้กําลังดําเนินเพื่อสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ามาบรรจุในหน่วยงาน ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประจําศูนย์อาเซียนศึกษา และการจัดหาอุปกรณ์ครุภัณฑ์สําหรับใช้ในสํานักงานของศูนย์อาเซียนศึกษา การสร้างความร่วมมือ และเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิชาการของประเทศอาเซียนจากการเข้าร่วมงานสัมมนาที่ประเทศเวียดนาม และนักวิชาการไทยของมหาวิทยาลัยในประเทศ
๒. ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อนําเสนอของบประมาณสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จํานวน ๒ แผนงานวิจัย และ ๖ โครงการวิจัยย่อย และได้มีการจัดทําเนื้อหาสาระน่ารู้และบทความวิชาการเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนลงในฐานข้อมูลออนไลน์ที่เว็บไซต์ http://www.asc.mcu.ac.th/ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับสังคมเผยแพร่องค์ความรู้สู่พื้นที่สาธารณะ