3-4 สิงหาคม 2561 “International Conference -Re-Learning to Be Human for Global Times: The Role of Hermeneutics

0
904

ศูนย์อาเซียนศึกษามจร”ระดมสมองนักปรัชญาศาสนาทั่วโลกสร้างกระบวนการตีความอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2561ที่่่ผ่านมา ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดย พระราชวรเมธี รศ.ดร. รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และพระศรีธวัชเมธี รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษาได้เป็นประธานจัดงานสัมมนา “International Conference -Re-Learning to Be Human for Global Times: The Role of Hermeneutics ที่ห้องประชุม 401 สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา

มีหน่วยงานร่วมมือในการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย Council for Research in Values and Philosophy, Washington DC, USA และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  วันที่ 3 สิงหาคม เวลา 09.00 น. พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รักษาการอธิการบดี และรักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานเปิดงาน โดยมีพระศรีธวัชเมธี  รอง ผอ.ศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นผู้แทนกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี  จากนั้น  ดร.ลำพอง กลมกูล  ผู้อำนวยการส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ  กล่าวต้อนรับกล่าวถึงความเป็นมาในการจัดงาน และแนะนำนักวิชาการที่มาร่วมสัมมนา

การสัมมนาทางวิชาการ มีนักวิชาการด้าน ปรัชญาศาสนาจากนานาชาติ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เบลเยียม อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน อังกฤษ สโลวะเกีย ตุรกี จีน สิงคโปร์ อูกันดา และประเทศไทย เป็นต้น ร่วมงานสัมมนา โดยสาระในการสัมมนาเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา โดยเน้นเกี่ยวกับการตีความในทางปรัชญาและศาสนา โดยมีนักวิชาการจากนานาชาติที่เข้าร่วมเสนองานได้นำเสนอแนวคิดทางด้านปรัชญาทั้งด้านพระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ฮินดู และอิสลาม ที่นำเสนอแง่มุมผ่านกระบวนการตีความ ในกรอบประเด็นหลัก

(1) Hermeneutical Understanding in a Multiple World อาทิ ในงานเรื่อง Feminist Biblical Hermeneutics: with Special Reference to และ Hermeneutics of the Process of Word Meaning และ Hermeneutical Understanding of the Concept of Being เป็นต้น (2) Hermeneutics in Islamic Thought and Hindu Tradition ดังปรากฏในงานเรื่อง Hermeneutics in Islam: A Case Study of India และ The Role Hermeneutics in Understanding the Text of the Bhagavadgītā และ How Can We Understand the Basic Principles of the Upanishads? Some Reflections เป็นต้น

(3) Hermeneutics in the Western Traditions โดยมีงานนำเสนอในเรื่อง The Epistemological Challenge of Kierkegaard’s Truth is Subjectivity Principle: A Case Study in Theological Hermeneutics และ Michel Foucault’s Concept of Power and Power in the Catholic Church: A Study of the Productivity of Power และ On Philosophical Hermeneutics and the Religions Other: Religious Transcendence in Hermeneutics and the Challenges of Inter-Religious Dialogue เป็นต้น

ในส่วน Session ที่ (4) Hermeneutics and Social Studies ดังปรากฏในงานเรื่อง Some Concerns on New Atheists’ Interpretation of Religion และ Postmodern Perspective of Hermeneutics Studies in Northeast India และ ICT and the Public School as New Opportunities for Interfaith Dialogue and for Fostering Hermeneutical Consensus เป็นต้น (5) Hermeneutic Implications ในงานเรื่อง Siho: Spiritual Symbol in Khon Kaen City และในงาน Nāgārjūna’s Challenge to Ancient Buddhist Hermeneutics: An Inquiry into Evolving Emptiness (Śūnyatā) Doctrine in Buddhism และ Influence of Christianity on Bodo Culture: A Case Study of the Bodo Christians in Assam เป็นต้น

ผลภาพรวมที่เกิดขึ้นทำให้เกิดกระบวนการแสวงหาความรู้ผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน ในศาสนาปรัชญาผ่านกระบวนการตีความของนักปรัชญาที่แต่ละครั้งที่มีการนำเสนอและจบลงด้วยข้อคำถามชวนคบคิดของนักวิชาการที่มีความแตกต่างกันในทางด้านศาสนา นัยหนึ่งได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ข้ามพรมแดนความรู้ทางศาสนา แนวคิดในเรื่องการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย และการสร้างปฏิสัมพันธ์กันภายใต้ความหลากหลายและพหุวัฒนธรรม ขององค์ความรู้และของผู้เข้ารวมเสนองานที่แต่ละคนมาจากต่างวัฒนธรรมทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู เป็นต้น

ที่ปรากฏในหมู่นักวิชาการและนักปรัชญาที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเป็นพิธีกรและนำเข้าสู่การสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ พระมหาพรชัย สิริวโร ป.ธ.9 อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มจร และพระมหายุทธนา นรเศรษโฐ คณะพุทธศาสตร์ ดร. พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย (ฉัตรนะรัชต์) อาจารย์ประจำวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ นายอานุรักษ์ สาแก้ว และนายศุภกร ณ พิกุล อาจารย์วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

และมีนักวิชาการด้านปรัชญาที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมนำเสนอบทความวิชาการและร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาทิ รศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น พระครูโกศลศาสนบัณฑิต (กฤษณะ ตรุโณ), ผศ.ดร.  อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มจร พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ผศ.ดร ผู้อำนวยการสำนักวิชาการวิทยาเขตอุบลราชธานี  และทีมงาน STAFF ที่ร่วมด้วยช่วยกันจนกระทั่งงานออกมาและสำเร็จลงด้วยดีเป็นที่ประทับใจทั้งผู้เข้าร่วมงานและผู้จัดงาน โดยที่ศูนย์อาเซียนศึกษานั่นจะเป็นส่วนสำคัญเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในการพัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ และเป็นศูนย์กลางในการศึกษาพระพุทธศาสนาโลกตามปณิธานเป้าหมายอันเป็นวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสืบไป

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

https://siampongsnews.blogspot.com/2018/08/blog-post_8.html

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here