การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาหลวงพระบาง สปป.ลาว[1] Tourism Management Based on Culture and Religion in ASEAN Country: A Case Study of Luang Prabang, Laos PDR

0
5797

การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในประเทศอาเซียน:
กรณีศึกษาหลวงพระบาง สปป.ลาว
[1]

Tourism Management Based on Culture and Religion in ASEAN Country: A Case Study of Luang Prabang, Laos PDR

ดร.ลำพอง กลมกูล, Lampong Klomkul
ผู้อำนวยการส่วนวิจัย สารสนเทศ และบริการวิชาการ
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้นิพนธ์หลัก E-mail: research.mcu@gmail.com

[1] บทความวิจัยภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการวิจัยเชิงพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2561  [Click บทความเพื่ออ่านฉบับ PDF]

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการท่องเที่ยวในหลวงพระบาง สปป.ลาว 2) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว และ 3) เพื่อเสนอชุดการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสาร งานวิจัย และการศึกษาเชิงพื้นที่พร้อมการสัมภาษณ์จากพื้นที่วิจัย คือหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัยพบว่า การจัดการท่องเที่ยวใน สปป.ลาว ประกอบด้วย 1) การจัดการท่องเที่ยวภายใต้วิถีวัฒนธรรม วิถีธรรมชาติ และการจัดทำวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมรายได้ประชาชาติของลาวในภาพรวมด้วย 2) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเป็นการจัดการท่องเที่ยวภายใต้วัฒนธรรมทางศาสนา ประเพณี วิถีชีวิตและธรรมชาติ เช่น การท่องเที่ยววัด การท่องเที่ยวในวิถีทางวัฒนธรรม เช่น สงกรานต์ การตักบาตรพระเช้า สถาปัตยกรรมทางศาสนา ที่เนื่องด้วยจิตวิญญาณทางศาสนา เป็นต้น 3) ชุดการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว โดยมีรัฐเข้าไปจัดการส่งเสริมร่วมกับหน่วยของวัดและศาสนาให้เกิดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และประเพณีวิถีทางศาสนาที่เชื่อมประสานกับแหล่งการท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งธรรมชาติ ป่าไม้ น้ำตก ภูเขา ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ที่เห็นความสำคัญของพื้นที่การท่องเที่ยว ที่ได้ทั้งความรู้ จิตวิญญาณของศาสนสถาน และพิธีกรรมนั้น ๆ และนำไปสู่คุณค่าทางจิตของการท่องเที่ยว ที่จะส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติเข้าใจ อันเนื่องจากวิถีวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาที่ลาวหลวงพระบาง

คำสำคัญ: การจัดการท่องเที่ยวเชิง, วัฒนธรรมและศาสนา, อาเซียน, หลวงพระบาง

 

Abstract 

The purposes of this research report were 1) to study general tourism conditions in Luang Prabang, Lao PDR, 2) to study tourism management based on culture and religion in Luang Prabang, Lao PDR, and 3) to propose a learning package for tourism management based on culture and religion in Luang Prabang, Lao PDR. Qualitative research from documentary papers and area studies with interviews were used for data collection in Luang Prabang, Lao People’s Democratic Republic. Research results indicated that tourism management in Lao PDR consists of 1) tourism management under the culture, natural way and culture preparation for the benefit of promoting the national income of Laos as a whole. 2) The tourism management model is a tourism management under the culture, religious and tradition, way of life and nature, such as tourism, temples tourism in cultural ways such as Songkran, offering food to monks, and religious architecture. 3) Learning packages for tourism management based on culture and religion in Luang Prabang, Lao PDR, has been managed by the state in order to promote and co-ordinate with tourism-oriented religious places. These artifacts and religious traditions are linked to other tourism sources including nature, forests, waterfalls and mountains that focuses to promote spiritual tourism that sees the importance of tourism areas That has both knowledge Spirit of religious places And that ritual and lead to the spiritual value of tourism. This will lead to peaceful coexistence which is due to the culture of Lao Buddhist way at Luang Prabang.

Keywords: Tourism Management, Culture and Religion, ASEAN, Luang Prabang

 

บทนำ

หลวงพระบางในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง (Denise Heywood, 2016) หากวิเคราะห์ตามชื่อแล้วจะเห็นถึงประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเมืองแห่งนี้ เมืองหลวงพระบางมีชื่อที่เคยเรียกขานกันหลายชื่อได้แก่ “เมืองเชียงดง-เชียงทอง” เมืองชวา เมืองชัว เมืองหลวงพระบาง  เมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว” เมืองศรีสัตนาคนหุต อุดมรัตชวาละวัติมหานคร-เมืองชวาละวัติมหานคร ชื่อแรกคือ “เมืองเชียงดง-เชียงทอง” เป็นชื่อที่ถูกพูดถึงในพงศาวดารล้านช้าง (2473) “เมืองเชียงดง-เชียงทอง” เป็นเมืองฝาแฝด  โดยเมืองเชียงทองตั้งอยู่บริเวณวัดเชียงทองในปัจจุบัน ส่วนเมืองเชียงดงตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำดงที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงห่างจากเชียงทองลงไปทางใต้ชื่อว่าชื่อต่อมา “เมืองชวา” หรือออกเสียงในภาษาลาวว่า “ซะวา” บางครั้งเรียกว่า “ซัว” เป็นชื่อที่ถูกเรียกขานกันในสมัยก่อนที่จะมีการเข้ามาของกลุ่มชนชาติไท-ลาว ซึ่งอพยพมาจากทางตอนใต้ของจีนตามตำนานกล่าวว่าหลังจากที่ขุนชวาได้ขึ้นปกครองเมืองก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เมืองเชียงดง-เชียงทองเป็น “เมืองชวา” เป็นที่เชื่อกันว่าขุนชวาเป็นผู้นำของกลุ่มชนเผ่าท้องถิ่นที่ชื่อว่า “ข่า” หรือ “ขมุ” หรือในภาษาไทยเรียกว่า “ข้า” ประชากรเดิมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากสถาปนาเป็นผู้นำของขุนขวากลุ่มชนเผ่านี้ได้ปกครองชวาต่อกันมาถึงสมัยขุนกันฮาง ในปี พ.ศ.1300 (สิลา วีระวงศ์, 2539)

หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ที่ส่วนสำคัญต่อการท่องเที่ยวทั้งเป็นอุตสาหกรรมและแหล่งรายได้หลักของหลวงพระบาง ที่มีเอกลักษณ์ในเรื่องธรรมชาติ ความสงบ  วิถีทางวัฒนธรรมทางศาสนา ประเพณี และวัตถุทางศาสนากับการท่องเที่ยว ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์และการจัดวางทางประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม ดังปรากฏในงานวิจัย อาทิ “The Impact of Tourism on the Monks of Luang Prabang” (Wantanee Suntikul, 2018) หรือเรื่อง “Sustainable Tourism Development in World Cultural Heritage Site, Luangprabang Town, Luangprabang Province, Lao PDR”  (Chansone Keomanivong, 2009) งานเรื่อง “หลวงพระบาง: การเปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองมรดกโลก” (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์, 2552: 84-104) เรื่อง “เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก หลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” (นาฎยา ซาวันคนึงนิตย์ ไสยโสภณ และบุญยัง หมั่นดี, 2560: 81-96) เรื่อง “พระพุทธรูปไม้: สุนทรียภาพและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนในเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์” (นิราศ ศรีขาวรส, 2558) หรือในงานเรื่อง “สุขายะทางรูปทรงในงานสถาปัตยกรรม พระอุโบสถวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง”  (ธีรยุทธ อินทจักร์, 2560: 1-19) ทั้งในงาน “รัฐสังคมนิยมกับการทำให้มรดกศักดินากลายเป็นสินค้า : กรณีศึกษาช่างเงินเมืองหลวงพระบาง” (ธีระยุทธ บัวจันทร์, 2558: 125-173) ที่ให้ความสำคัญกับ วัด ศาสนาสถาน และวิถีประเพณีบ้างประการเนื่องด้วยวัฒนธรรมทางศาสนา  

หลวงพระบางเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่เชื่อมระหว่างนักท่องเที่ยวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวนานาชาติจากทั่วโลก ในฐานะเมืองมรดกโลก (2538/1995) ที่มีเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม พระพุทธศาสนา วัดวาอาราม ความสงบ และธรรมชาติที่งดงาม วิถีประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งมีผู้นำระดับโลกอย่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา (Barack   Obama, พ.ศ.2552-2560/2009-2017) เดินทางมายังหลวงพระบาง เมื่อ พ.ศ.2559/2016 ปรากฏเป็นภาพข่าวและทำให้เกิดภาพจำและความสนใจต่อความเป็นเมืองท่องเที่ยวของหลวงพระบางไปด้วย  สู่การขับเคลื่อนการท่องเที่ยว โดยมีฐานจากพระพุทธศาสนา วัด ศาสนสถาน วัฒนธรรมทางศาสนา ประเพณี  กับการท่องเที่ยวเชิงประเพณี วิถีชีวิต ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย เอกลักษณ์และการจัดวางทางประวัติศาสตร์ ดังปรากฏในงานวิจัยของ สุดาพร คมทะวง (2559: 349-366) เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”  หรืองานของ บุญหนา จิมานัง (2556: 55-58) เรื่อง “ตักบาตรข้าวเหนียวเที่ยวหลวงพระบาง” และงานของ มณฑิรา มณีแสง (2560: 82-95)“ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวหลวงพระบางของ นักท่องเที่ยว” ดังนั้น วัด ศาสนสถาน และวิถีประเพณีบ้างประการเนื่องด้วยวัฒนธรรมทางศาสนา จึงเป็นหน่วยที่ถูกนำมาจัดเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวที่หลวงพระบาง ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อออกแบบการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวที่ส่งเสริม พร้อมการอนุรักษ์คุณค่า และส่งเสริมสู่กระบวนการทางจิตวิญญาณและเจตนารมณ์ทางศาสนา ที่เนื่องด้วยความรู้ ความเข้าใจ “ราก” อันเป็นบริบทความหลวงพระบาง ทั้งส่งผลเป็นข้อเสนอเพื่อจัดการหรือการบริหารอย่างเหมาะสมที่ได้ทั้งคุณค่าทางวัฒนธรรม สุนทรียะของการเดินทาง รวมทั้งการเรียนรู้เชิงวิถีศาสนาอันเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม จากสภาพที่พบเห็นจะพบว่าการท่องเที่ยวที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งในส่วนของบริบทเชิงพื้นที่ อัตตลักษณ์ทางศาสนาและความเชื่ออันเป็นวิถีเฉพาะ รวมไปถึงการจัดการการออกแบบในเชิงองค์กร และเชิงระบบแล้วที่ควรจะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพหรือกลไกที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงพยายามศึกษาถึงสภาพของการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิถีทางศาสนา เพื่อนำไปสู่การเสนอชุดการเรียนรู้การท่องเที่ยวทางศาสนาที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงสุนทรียะของการท่องเที่ยวและคุณค่าทางจิตวิญญาณตามหลักพระพุทธศาสนาอันเป็นรากฐานของหลวงพระบางที่ได้ทั้งคุณค่าและมูลค่าต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการท่องเที่ยวในหลวงพระบาง สปป.ลาว
  2. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว
  3. เพื่อนำเสนอชุดการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว

 

วิธีดำเนินการวิจัย

           การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Study) การศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Studies) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากพื้นที่วิจัย ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม พ.ศ.2561 

ผลการวิจัย       


Image result for โอบามา หลวงพระบาง

ภาพที่ 1 บารัค โอบามา (Barack Obama,พ.ศ.2552-2560) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น เดินทางมายังหลวงพระบาง เมื่อ พ.ศ.2559 กับภาพจำวัด พระภิกษุ และ ศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่หลวงพระบาง (ภาพ: ออนไลน์, 30 ธันวาคม 2561)

ภาพที่ 2  สภาพของการท่องเที่ยวในหลวงพระบางเมืองมรดกโลก ที่สำรวจในเบื้องต้นจะพบการท่องเที่ยววัด พิธีกรรมทางศาสนา วิถีชีวิต น้ำตก ธรรมชาติ และการดำเนินชีวิตผ่านศูนย์ศิลปหัตถกรรม เป็นต้น (ภาพคณะนักวิจัย: 12-15 กรกฎาคม 2561)

 

  1. การจัดการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง ลาว เมื่อพิจารณาจากแผนภาพการท่องเที่ยวในส่วนวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งจำแนกได้เป็นกรณีในการจัดการท่องเที่ยวได้ ดังนี้

(1) การท่องเที่ยวในกลุ่มศาสนสถานในพระพุทธศาสนา หมายถึง ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในวัด ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา การที่หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก  มีความโดดเด่นในเรื่องของวัด ศาสนสถาน และพิธีกรรม โดยคณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจ เมื่อ 12-15 กรกฎาคม 2561 ซึ่งได้พบข้อมูลเชิงประจักษ์จากการศึกษาเชิงพื้นที่ อาทิ วัดเชียงทอง (ວັດຊຽງທອງ) เป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ล้านช้าง ราชวงศ์หลวงพระบาง และราชวงศ์ลาว สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2103 โดยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (King Setthathirath-ເສດຖາທິຣາຊ,พ.ศ. 2091–2114/1548-1571) กษัตริย์ผู้ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง-ล้านนา ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างตอนเหนือที่งดงามมาก จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “อัญมณีของศิลปะล้านช้าง” (ธีรยุทธ อินทจักร์, 2017: 1-19) วัดศรีบุญเรือง (Wat Sri Buon Heuong) วัดแสน (Wat Sean) วัดใหม่ (วัดใหม่) วัดอาฮาม (Wat Aham)  วัดวิศุล (Wat Visoun) พระธาตุภูสี เป็นต้น ดังปรากฏข้อมูลเป็นเบื้องต้นที่สืบค้นได้กว่า 33 วัดดังปรากฏในงาน ชัยสิทธิ์ ดานกิตติกุล  (2554) ปรากฏดังภาพที่ 3

 

1.วัดเชียงทอง 2.วัดปากคาน 3.วัดคิลี 4.วัดสีบุนเฮือง 5.วัดสิริมงคุน 6.วัดสบสุขาราม 7.วัดแสนสุขาราม 8.วัดหนองศรีคูนเมือง 9.วัดสีพุทบาท 10.วัดป่าไผ่ 11.วัดเชียงม่วน 12.วัดจูมค่อง 13.วัดถํ้าพูสี 14.วัดจอมสี 15.วัดอาไพ 16.วัดป่า ฮวก 17.วัดใหมสุวรรณภูมาราม 18.วัดโพนชัย 19.วัดหอเสี่ยง 20.วัดมหาธาตุ 21.วัดอาฮาม 22.วัดวิชุนราช 23.วัดหมื่นนา 24.วัดพันหลวง 25.วัดโพนสะอาด 26.วัดมโนรม 27.วัดธาตุหลวง 28.วัดพระบาทใต้ 29.วัดเชียงแมน 30.วัดจอมเพชร 31.วัดล่องคูน 32.วัดหาดเสี้ยว 33.วัดคกปาบ ปรับปรุงจาก: ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของห้องการมรดกโลกหลวงพระบางปพ.ศ.2554 | ค.ศ.2011

 

  ภาพที่ 3 แผนที่แสดงทําเลที่ตั้งวัดต่างๆ ในเมืองหลวงพระบาง ที่มา: Nittha Bounpany  ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล การวางทิศทางของวัดในเมืองประวัติศาสตร์หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

  1. การจัดการท่องเที่ยวในวัตถุทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วัตถุทางศาสนาที่สำคัญเนื่องกับวัดและพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูปสำคัญ โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว รวมไปถึงมีวัตถุสถานเป็นที่เคารพสักการะ ดังปรากฏในหลวงพระบางจะมีพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะอาทิ หอพระแก้ว ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตในประวัติศาสตร์ลาว หอพระบางที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหลวงพระบางหรือพระบาง (Phra Bang) อันเป็นพระที่เคารพสักการะของชาวลาวหลวงพระบาง หรือพระพุทธรูปที่ถ้ำติ่ง (พระมหานิกร ฐานุตฺตโร, 2561: 65-77) พระม่านหรือพระพุทธรูปวัดเชียงทอง พระธาตุวัดวิชุล พระธาตภูสี รอยพระบาทที่ภูสี เป็นต้น โดยสถานที่นี้เนื่องด้วยวัดในพระพุทธศาสนา หรือความเชื่อทางพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน  ดังปรากฏแนวคิดเทียบเคียงในงานของพระมหาบุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง (2553) ที่ว่า “….วัด ทรัพยากร ทางวัฒนธรรมในพระอารามหลวงชั้นเอก ทุกวัด มี ศักยภาพโดดเด่น ซึ่งทางภาครัฐพร้อมให้การสนับสนุน ภาคเอกชนมีความสนใจร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวยังปลาบปลื้มในความงดงามของพระอาราม…” หรือในงานวิจัย Vimalin Virojtrairatt (2010) เรื่อง “Community Pre-Empowering for Tourism: Sustainable Tourism Management Guideline Amphoe Mae Chaem, Chiang Mai, Thailand” ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างประสิทธิภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยในงานวิจัยก็ให้ความสำคัญกับทุนทางวัฒนธรรม ผ่านวัด ศาสนสถาน โดยเฉพาะพุทธรูปสำคัญ ๆ เป็นต้น  
  2. การจัดการท่องเที่ยวในกลุ่มเจดีย์/พระธาตุ หมายถึง ศาสนสถาน อันเนื่องด้วยวัด หรือความสำคัญในวัดทางพระพุทธศาสนา ที่จำแนกได้เป็น พระธาตุ รอยพระบาท เจดีย์ สำคัญ อาทิ พระธาตุภูสี รอยพระบาทภูสี พระธาตุหมากโม ตั้งอยู่ในบริเวณวัดวิชุนราช วัดที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองหลวงพระบางสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2058/1515 ในรัชสมัยพระเจ้าวิชุลราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม ความเก่าแก่โบราณ และถูกจัดอยู่ในแผนผังของการท่องเที่ยว โดย (วัด) พระธาตุหมากโม ที่มีรูปทรงคล้ายผลแตงโมผ่าครึ่งหรือเป็นทรงโอคว่ำคล้ายสถูปแบบฟองน้ำเมืองสาญจี ประเทศอินเดีย ยอดพระธาตุมีลักษณะคล้ายรัศมีเปลวไฟของพระพุทธรูปแบบลังกาหรือสุโขทัย บริเวณมุมฐานชั้นกลางและชั้นบนมีเจดีย์ทิศทรงบัวตูมทั่งสี่มุม พระธาตุหมากโมนี้มีสีดำเก่าๆ แม้จะเคยผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้วสองครั้ง ในปี พ.ศ.2402/1859 รัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ (คำสุก/ King Zakarine/พ.ศ.2438-2448/1895-1904) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์  ต่อมาในปี พ.ศ.2457/1914 ในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ (Sisavang Vong, พ.ศ.2447-2502/1904-1945) มีการปฏิสังขรณ์อีกครั้ง ซึ่งการบูรณะครั้งนี้พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองคำ พระพุทธรูปหล่อสำริด พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้วซึ่งคล้ายกับพระแก้วมรกต โบราณวัตถุเหล่านี้ได้นำถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และเก็บรักษาไว้ในพระราชวังหลวงพระบางในปัจจุบัน หรือกรณีพระธาตุภูสี จะมีเจดีย์ ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า หรือรอยพระบาทจำลองของพระพุทธเจ้า แต่อีกนัยหนึ่งพระธาตุก็เป็นจุดมุมสูงสุดของหลวงพระบาง ที่นักท่องเที่ยวนิยมเพื่อเห็นทัศนียภาพมุมสูงในแบบ 360 องศา ที่สวยงามประกอบรวมกับการท่องเที่ยวพระธาตุ หรือรอยพระบาท รวมไปถึงหมู่เจดีย์ ที่มีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ทางความเชื่อในหลวงพระบาง หรือเพื่อคุณธรรมภายในต่อการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี เป็นต้น
  3. การจัดการท่องเที่ยวในสำนักปฏิบัติธรรม หมายถึง การออกแบบให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการศึกษาปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นไปตามกรอบของพระพุทธศาสนากรรมฐาน 40 วิธี เพื่อการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา และในการเดินทางสำรวจเก็บข้อมูลวิจัย คณะผู้วิจัยได้ไปยังวัด วัดป่าโพนเพาวนาราม ที่มีหลักฐานประวัติว่าเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีทั้งชาวลาว และชาวต่างชาติที่สนใจการปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยว “Spiritual Tours” (Alex Norman, 2004) โดย วัดป่าโพนเพาวนาราม (Wat Pa Phon Phao) ที่ก่อตั้งโดยพระอาจารย์ซายสมุทร โชติโก (Pha Xaisamut Chotiko,1992) ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีการสอนกรรมฐานและเป็นสถานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การสอนกรรมฐานปฏิบัติธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาอยู่
4. การจัดการท่องเที่ยวผ่านพิธีกรรม/ประเพณีทางศาสนา หมายถึง กิจกรรมที่เนื่องด้วยพิธีกรรม เช่น บุญประเพณี วิถีทางวัฒนธรรมทางศาสนา ดังกรณีในหลวงพระบางใช้การตักบาตรพระเช้า ที่มีพระภิกษุสามเณรเดินบิณฑบาตรับการใส่บาตรจากชาวพุทธ และนักท่องเที่ยวได้กลายเป็นภาพจำของการท่องเที่ยวไปทั่วโลก  ประเพณีสรงน้ำพระ ในช่วงสงกรานต์  พิธี​อัญเชิญ​พระม่านและพิธีสรงน้ำพระม่าน​ พระพุทธรูป​ศักดิ์สิทธิ์​คู่บ้านคู่เมือง​ ประจำหลวงพระบาง (Online: 16 เมษายน 2562) ประเพณีฮดสรง สรงน้ำพระเถระตามประเพณีโบราณของชาวลาว (กันหา สีกุนวง, 2016: 61-77) ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงที่หลวงพระบาง กฐิน เป็นต้น เหล่านี้เป็นประเพณีที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาและถูกจัดอยู่ในโปรแกรมและแผนการท่องเที่ยวทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนจัดขึ้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการท่องเที่ยว
  1. เกจิคณาจารย์/บุคลสำคัญในพระพุทธศาสนา ปราชญ์ทางด้านพระพุทธศาสนา คือ กิจกรรมการท่องเที่ยวเนื่องด้วยตัวบุคคล อันหมายถึงเกจิคณาจารย์/หรือคณาจารย์เน้นที่ภาพลักษณ์ในเชิงบุคคล ดังปรากฏในวัดเชียงทอง (Wat Xieng Thong) วัดมหาธาตุ (Wat Mahathat) ที่ให้ความสำคัญกับพระเถระที่เคยปกครองวัด โดยมีการจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้เกี่ยวกับ พระสงฆ์ และพระพุทธศาสนา นำภาพเก่ามาจัดแสดงพร้อมเกียรติประวัติ โดยในปัจจุบัน วัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องพระสงฆ์ ดังกรณีพิพิธภัณฑ์ประวัติสาธุใหญ่คำฝั่น สีลสังวโร มหาเถระ วัดสุวรรณคีรี ท้องถิ่นหลวงพระบางที่นี่ มรณภาพในปี 1987  พระราชาคณะ ปลัดซ้ายปลัดขวา ท่านมีชื่อเต็มยศว่า “สมเด็จพระลูกแก้ว สีลสังวโร” อดีตเจ้าคณะแขวงหลวงพระบาง (เจ้าคณะจังหวัด) ทั้งวัดสุวรรณคีรี ยังเป็นศูนย์ข้อมูลของคณะสงฆ์หลวงพระบาง (Buddhist Archives Document) พิพิธภัณฑ์ภาพเก่า ทั้งฝ่ายการศึกษา ปกครอง และวิปัสสนาด้วย โดยสะท้อนพระพุทธศาสนาในอดีตในเชิงประวัติศาสตร์ สถานที่ และบุคคลในหลวงพระบาง (Sitthivong, Phikkhu; Khamvone Boulyaphone; Phra Khamchan Virachitta Maha Thera, 2011)

การจัดการท่องเที่ยวในหลวงพระบาง เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีพระพุทธศาสนา ดังปรากฏเป็นวัด เจดีย์ พระธาตุ พระพุทธบาท พระพุทธรูป และประเพณีที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ทั้งการบิณฑบาตเช้า การสรงน้ำพระในช่วงสงกรานต์ การฮดสรงหรือเถราภิเษก ประเพณีบุญต่าง ๆ เป็นต้น

 ภาพที่ 4 คณะนักวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาที่หลวงพระบาง  (ภาพคณะนักวิจัย: 15 กรกฎาคม 2561)

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และสถานที่ในร่ม

  1. ชุดการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป.ลาว จากผลการศึกษาการออกแบบการท่องเที่ยว ใช้ทรัพยากรทางศาสนาอาทิวัด โบราณสถาน หรือศาสนสถานในพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายเป็นการจัดการท่องเที่ยวตามวิถีทางศาสนา ที่เข้าใจในเจตนารมณ์ของการวัตถุทางศาสนา หรือศาสนสถานในทางพระพุทธศาสนา ร่วมทั้งแสดงออกผ่านการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเข้าใจเจตนารมณ์ของการปฏิบัติได้ถูกต้อง

 à¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸žà¸­à¸²à¸ˆà¸ˆà¸°à¸¡à¸µ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ภาพที่ 5 วัดศรีบุญเรือง  อันเป็นที่ตั้งของ พระม่าน  ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาและถูกออกแบบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา  ศิลปกรรม หอศิลป์ กับการท่องเที่ยวในหลวงพระบาง (ภาพคณะนักวิจัย: 12-15 กรกฎาคม 2561)

 

           การท่องเที่ยวที่ปรากฏในหลวงพระบาง สปป. ลาว เป็นการจัดการท่องเที่ยวอันเกี่ยวข้องกับศาสนา วัด และสถานที่สำคัญทางศาสนา สามารถจำแนกเป็นองค์ความรู้ได้ ดังนี้

  1. 1. การท่องเที่ยวที่ใช้ทรัพยากรของวัดและศาสนาแบบเดิม หมายถึง การที่วัดเหล่านั้นมีความสำคัญในเชิงศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี โดยตัวเอง และถูกออกแบบให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยตรงตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และชุมชนแต่เดิม โดยวัดเหล่านั้นสัมพันธ์ประวัติศาสตร์ พระพุทธรูปสำคัญ หรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระบางอันเป็นพระคู่เมืองหลวงพระบาง ที่ชาวหลวงพระบางมีความเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น โดยเป็นแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว มาเป็นวัตถุสถานในการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในหลวงพระบาง 
  2. การจัดการหรือออกแบบวัด/ศาสนาให้เป็นกลไกร่วมของการท่องเที่ยว หมายถึง การที่รัฐเข้าไปส่งเสริมและจัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชีวิตวิถีวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบและก่อให้เกิดการขับเคลื่อนในภาพรวม ซึ่งพอจำแนกได้ อาทิ การออกแบบศาสนาสนถานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว การสร้างองค์ความรู้ในการท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์การจัดออกแบบสถานที่ท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับรูปแบบและการดำเนินชีวิต ทั้งในส่วนของวัดเฉพาะในเขตเมืองมรดกโลกกว่า 33 วัด (Nittha Bounpany, ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล, 2561: A55-A70; พระมหานิกร ฐานุตฺตโร, 2559; Wantanee Suntikul, 2018) ประเพณีบิณฑบาต ที่เป็นจุดเด่นและภาพจำของชาวโลก (Wantanee Suntikul, 2018) ประเพณีทางศาสนา อาทิ สรงน้ำพระม่าน สงกรานต์ รวมทั้งเนื่องด้วยสถานที่แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ  ตามที่ปรากฏในเอกสารของทางราชการ “Luang Prabang Province Tourism Destination Management Plan 2016 – 2018” (2016) ที่เข้าไปจัดการท่องเที่ยวและเสนอที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยธรรมชาติ ป่า เขา น้ำตก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น หมู่บ้านชนเผ่าม้ง หมู่บ้านช้าง เป็นต้น  ให้เกิดการประสานเป็นรูปแบบการจัดท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ

ภาพที่ 6 วัดศรีเมือง พิธี​อัญเชิญ​พระม่านและพิธีสรงน้ำพระม่าน​ พระพุทธรูป​ศักดิ์สิทธิ์​
                      คู่บ้านคู่เมือง​ ประจำหลวงพระบาง (ภาพ Online: 16 เมษายน 2562)

 

  1. การจัดการท่องเที่ยวแบบวิถีจิตวิถีธรรม หมายถึง การท่องเที่ยวที่ส่งเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี เช่น การไหว้พระ การปฏิบัติธรรม ส่งเสริมให้เกิดการไปปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่มีการปฏิบัติอยู่แล้ว อาทิ  วัดเชียงทอง วัดป่าโพนเพาวนาราม (Wat Pa Phon Phao) หรือวัดสุวรรณคีรี หรือวัดอื่นๆ เป็นต้น โดยมีการจัดการท่องเที่ยวที่ออกแบบการท่องเที่ยวโดยผนวกการท่องเที่ยวในแบบวิถีธรรมชาติ วัฒนธรรมแบบ “Clean Mind”   เทียบเคียงกับงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบและเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในประเทศไทย” (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), 2553)  ที่เสนอผลการศึกษาว่า

“…รูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด มี 3 รูปแบบ 1) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการทัศนศึกษา (Learning By Seeing) ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องโดยผ่านการศึกษาเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติและวิถีแห่งวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning By Doing) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถฝึกปฏิบัติตนตามหลักการทางพระพุทธศาสนา เช่น การเจริญสมาธิภาวนา และสติปัฏฐาน 4 อันเป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบของจิตใจและปัญญา 3) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยการสร้างเครือข่าย (Learning By Networking) ซึ่งเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม ผลการดำเนินการของวัดต่างๆ ที่ผ่านมาในรอบ 5-6 ปีนั้น พบว่า มีนักท่องเที่ยวผู้ที่สนใจมาปฏิบัติมากกว่า 10,000 คน และมากกว่า 75 ประเทศทั่วโลก…”

           ดังนั้น ในกรณีนี้จึงเห็นว่าสามารถนำมาเทียบเคียงกับหลวงพระบางได้ในกรณีของวัดสำนักปฏิบัติธรรม ซึ่งผสมผสานให้เกิดการท่องเที่ยวในแบบ “ธรรมชาติ-จิตใจบริสุทธิ์และจิตวิญญาณ/Green-Clean Mind-Spiritual Tourism” เป็นต้น (Alex Norman, 2004) 

  1. การผสมร่วมกับการท่องเที่ยวในวัตถุทางศาสนา หมายถึง การจัดการท่องเที่ยวที่ผสมรวมระหว่างศาสนาสถาน วัด บุคคล และเหตุการณ์ทางวัฒนธรรม อันหมายถึงสิ่งเคารพทางศาสนา เช่น พระธาตุ รอยพระพุทธบาท หอไตร ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอระฆัง กุฏิ มณฑป เป็นต้น (Charuwan Chareonla, 1981: 75-88) กรณีหลวงพระบาง จะเห็นการจัดการท่องเที่ยวพระธาตุภูสี พระธาตุ วัด ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี เชื่อมไปกับวิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิต แห่งภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ เป็นต้น  ที่เกิดขึ้นในบริบทสังคมอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันทำให้เกิดการเชื่อมโยงประสานเป็นเนื้อเดียวกัน
  2. การจัดการท่องเที่ยวที่ต้องพัฒนาไปสู่ความรู้และเจตนารมณ์ของศาสนา หมายถึง การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและศาสนา ควรมีการส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องและเจตนารมณ์ทางศาสนา ดังกรณีการใส่บาตรพระเช้าที่เป็นภาพจำของชาวโลก ควรต้องสื่อไปให้ถึงเจตนารมณ์ของการเสียสละ แบ่งปัน เพื่อสะท้อนคิดให้ชาวโลกว่าการให้หมายถึงการหยิบยื่นแบ่งปันตามคติในทางพระพุทธศาสนา การสะท้อนคิดผ่านความสงบของความเป็นเมืองผ่านคติทางศาสนาในเรื่องสติ ปัญญา หรือการสะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงความงดงามทางจิต (Magnificent) สู่การท่องเที่ยวอย่างมีสติ ยับยั้งชั่งใจ (Mindfulness) แลเคารพในบริบทของพื้นที่นั้นตามคติทางพระพุทธศาสนา ที่สอดคล้องกับ “Spiritual Tours” (UNWTO, 2013; John Holt, 2009) ที่ผ่านกระบวนการทางศาสนาสู่กลไกการพัฒนาแสดงออกผ่านสถาปัตยกรรม หรือประเพณีอันเนื่องด้วยศีลธรรมและจารีต สะท้อนผ่านประเพณีที่มีเป้าหมายเพื่อการควบคุมจริยธรรม ทั้งในเชิงบุคคลและสังคม จนกลายเป็นจารีตโดยมีฐานคติมาจากพระพุทธศาสนา หรือความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแนวนี้จะทำให้เห็นคุณค่า สิ่งประดิษฐ์สร้างทั้งสถาปัตยกรรมและประเพณีที่เนื่องด้วยการท่องเที่ยวด้วย

 ภาพที่ 7 (ขวา-ซ้าย) การตักบาตรพระเช้าภาพวัฒนธรรมทางศาสนาของหลวงพระบางที่ถูก

             ออกแบบเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (ภาพคณะนักวิจัย 12-15 กรกฎาคม 2561)

         

 

 

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และสถานที่กลางแจ้ง           à¹ƒà¸™à¸ à¸²à¸žà¸­à¸²à¸ˆà¸ˆà¸°à¸¡à¸µ 3 คน, ผู้คนกำลังยืน, เด็ก และสถานที่กลางแจ้งในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และสถานที่กลางแจ้ง

ภาพที่ 8  (ขวา-ซ้าย) วิถีวัฒนธรรมทางศาสนาที่ถูกจัดการเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์  รวมทั้งสะท้อนค่านิยมที่ต้องให้ความสำคัญและการแสดงออกอย่างเหมาะสม    (ภาพคณะนักวิจัย, 12 กรกฎาคม 2561)

ภาพที่ 9  วิถีวัฒนธรรมทางศาสนาผ่านสถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบให้เป็นการท่องเที่ยว อาทิ   
   วัดเชียงทอง  วัดหนองสีคูณเมือง (ภาพคณะนักวิจัย: 12 กรกฎาคม 2561)

ในภาพอาจจะมี 1 คน, อาหาร

ในภาพอาจจะมี 1 คน, อาหาร

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ต้นพืช และอาหาร

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ผู้คนกำลังยืน และอาหาร

ภาพที่ 10 ตลาดกลางคืน (2 ภาพบน) และตลาดเช้า (2 ภาพล่าง) เสน่ห์ของการท่องเที่ยว    ที่หลวงพระบาง อันเป็นเอกลักษณ์และอยู่ในแผนการท่องเที่ยวของหลวงพระบาง    (ภาพคณะนักวิจัย: 12-15 กรกฎาคม 2561)

 

          จากภาพชุดที่ 7-8 การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี ชุดที่ 9 สถาปัตยกรรมวัดในพระพุทธศาสนา และชุดที่ 10 สื่อถึงการการจัดการท่องเที่ยวเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหาร การกิน โดยทั้งหมดเป็นรูปแบบ แนวทางของการจัดการท่องเที่ยวและชุดการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยว หรือผู้จัดการท่องเที่ยวพึงตระหนักและสร้างความเข้าใจสำหรับสำหรับผู้มาท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าตามเจตนารมณ์ทางศาสนาของผู้มาท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการท่องเที่ยวหลวงพระบางที่จะได้ทั้งสุนทรียะ การเรียนรู้ ความรู้ และการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันในมิติของความหลากหลายแตกต่างบนฐานของศาสนา ดังมีผลการศึกษาไว้ว่า

“…แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว คือ การสร้างความตระหนักในคุณค่าและความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของมรดกร่วมกันของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การสนับสนุนเงินทุนและลดการลงทุนของชาวต่างประเทศในธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ปรับปรุงฐานข้อมูลและการบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการเมืองมรดกโลกและการท่องเที่ยว…”(นาฎยา ชาวัน และคณะ, 2560: 81-96)

ดังนั้น ในกระบวนการของการสร้างชุดความรู้ หรือคู่มือนำการท่องเที่ยวจึงควรเนื่องด้วย (1) วัฒนธรรมทางศาสนา อันสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัววางตนในพื้นที่ทางศาสนา ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง (2) วัฒนธรรมทางความเชื่อ ประเพณี วิถี ภาษา (3) วิธีการดำเนินชีวิตที่สะท้อนถึงการเป็นอยู่ อันประกอบด้วยมูลค่าอันหมายถึงรายได้เข้าประเทศ ที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว ดังปรากฏสถิติของการท่องเที่ยวมายังลาว จากนานาชาติทั้งเอเซีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง ใน ปี ค.ศ.2016 ที่มีสถิติว่านักท่องเที่ยวมาเที่ยวกว่า 4.2 ล้านคน มีรายได้กว่า 724 ล้าน (Dollars) และใน ค.ศ.2017 มีนักท่องเที่ยวกว่า 3.8 ล้านคน มีรายได้เข้าประเทศกว่า 648 ล้าน (Dollars US) และใน ค.ศ.2017 มีนักท่องเที่ยวไปยังหลวงพระบาง 655,412 คน (Tourism Development Department, Ministry of Information, Culture and Tourism, 2017: 5,27) และคุณค่าสำหรับดำเนินชีวิต เพื่อผู้ท่องเที่ยวจะได้เข้าใจ เรียนรู้ และร่วมปฏิบัติด้วยความเข้าใจในศาสนสถาน พิธีกรรม ความเชื่อประเพณีวัฒนธรรม สู่การปรับตัวอย่างเข้าใจที่จะได้ทั้งมูลค่าจากการท่องเที่ยว และคุณค่าความภาคภูมิใจจากผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม และผู้มาได้ประโยชน์และความเข้าใจจากการท่องเที่ยวด้วย

 

อภิปรายผลการวิจัย

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาหลวงพระบาง สปป.ลาว เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีวัด ศาสนสถาน หรือศาสนา สถานที่เนื่องด้วยวัด หรือตั้งอยู่ในวัดที่ควรจะได้ส่งผลเป็นมูลค่า และคุณค่าในคราวเดียวกัน เพราะวัดในพระพุทธศาสนามีอุดมคติ และเป้าหมายต่างกัน รวมไปถึงหลักคิดทางพระพุทธศาสนาเองที่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสําคัญ การออกแบบท่องเที่ยวต้องได้ประโยชน์ในองค์รวม รู้คุณค่าในเรื่องของหลักการที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาในส่วนพุทธาวาส สังฆาวาส ที่ควรเป็นสัดส่วนเฉพาะเพื่อเกื้อหนุนและส่งเสริมแนวทางนักบวชที่เข้ามาอยู่ในวัด อยู่ในพระศาสนาเพื่อการขัดเกลา และที่สําคัญการมาวัด หรือท่องเที่ยวในศาสนาจะต้องส่งเสริมให้ผู้มา รู้คุณค่า และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมทางศาสนาได้ด้วย ถึงจะได้ชื่อว่าได้ประโยชน์ทั้งในส่วนของหลักการ ปฏิบัติการ แนวคิด และผลประโยชน์ในเชิงมูลค่าอันจะพึงได้ในศาสนาด้วย เช่นกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวม สามารถอภิปรายได้ดังนี้

(1) สภาพทั่วไปการท่องเที่ยวในหลวงพระบาง ประเทศลาว เป็นการท่องเที่ยวที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนศาสนสถาน วัด อาราม พระธาตุ พระพุทธรูป และเนื่องด้วยศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และธรรมชาติ แหล่งน้ำ ป่า เขา และน้ำตก สอดคล้องกับงานของบุญหนา จิมานัง (2556: 55-58) เรื่อง “ตักบาตรข้าวเหนียวเที่ยวหลวงพระบาง”งานของ ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ (2552: 84-104) เรื่อง “หลวงพระบาง: การเปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองมรดกโลก” และสิปป์ สุขสําราญ. (2559: 155-167) เรื่อง “งานพุทธศิลป์ฮูปแก้วสี เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง” เป็นต้น

(2) การจัดการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และศาสนาในหลวงพระบาง สปป. ลาว ตามปรากฏในข้อที่ 1 จึงเป็นการจัดการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อของธรรมชาติ วัด ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา พระพุทธรูป พระธาตุ เจดีย์ และวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนา และการจัดการท่องเที่ยวในองค์รวมด้วยเช่นกัน ดังปรากฏในงานของ สุดาพร คมทะวง (2016: 349-366) ในเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรืองาน Wantanee Suntikul (2018) The Impact of Tourism on the Monks of Luang Prabang เป็นต้น

(3) ชุดการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในหลวงพระบาง สปป. ลาว ควรเป็นการเข้าไปสร้างองค์ความรู้ต่อการปฏิบัติตัว รู้ เข้าใจ ปฏิบัติได้ และปรับตัวเพื่อการอยู่รวมกับอย่างสันติ ทั้งสร้างแบบอย่างในการท่องเที่ยวที่ถูกต้อง และจะเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของการรู้หลักการในทางศาสนา และการได้องค์ความรู้จากแหล่งหรือสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาได้ด้วยความดี ความงาม สุนทรียะ และความสุข ดังปรากฏในงานของ มณฑิรา มณีแสง (2560) เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวหลวงพระบางของนักท่องเที่ยว” ซึ่งอาจเทียบเคียงถึงความสอดคล้องกับงานวิจัยที่มีลักษณะใกล้เคียง อาทิ “รูปแบบและเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทวัดในประเทศไทย” (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ, 2553) หรือในงาน “รูปแบบของเครือข่ายการสร้างการเรียนรู้ทางสังคมในการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา” (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และสายชล ปัญญาชิต, 2556) รวมทั้งในงาน “กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าการตลาดสําหรับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของพระอารามหลวงในเกาะรัตนโกสินทร์” (พระมหาสุริยา มะสันเทียะ, 2558) และ ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม (2556) “รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด” และงาน มัลลิกา ภูมะธน และดิเรก ด้วงลอย (2559) เรื่อง “แนวคิดการจัดการ การท่องเที่ยว (วัด) ในพระพุทธศาสนา: หลักการ และวิถีปฏิบัติ” หรืองาน “Spiritual Tourism: Religion and Spiritual Spirituality in Contemporary Travel” (Alex Norman, 2004) หรืองาน “Spirits of the Place: Buddhism and Lao Religious Culture” (John Holt, 2009) และในงาน “Spiritual Tourism for Sustainable Development” (UNWT, 2013) เป็นต้น ที่ในงานวิจัยจะให้ความสําคัญกับการจัดการท่องเที่ยวผ่านแนวคิดใน เรื่องวัตถุทางพระพุทธศาสนาหรือแนวคิดทางศาสนากับการท่องเที่ยวที่เน้น “คุณค่ากับมูลค่า” ต้องไปด้วยกันที่พร้อมส่งไปสู่จิตวิญญาณด้วย ซึ่งสามารถนํามาเทียบเคียงต่อแนวทางและความ เป็นไปได้ในหลวงพระบางได้ด้วยเช่นกัน

 

บทสรุปว่าด้วยการจัดการท่องเที่ยวหลวงพระบาง

การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาหลวงพระบาง สปป.ลาว ประกอบด้วย 1) การจัดการท่องเที่ยวภายใต้วิถีวัฒนธรรม วัด พระพุทธศาสนา ประเพณี วิถีธรรมชาติ ที่มีผลเป็นข้อมูลสถิติในเรื่องรายได้และผลประกอบการในองค์รวมที่นับว่าสูงของหลวงพระบางด้วย ทั้งส่งเสริมรายได้ประชาชาติของลาวในภาพรวมด้วย            2) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเป็นการจัดการท่องเที่ยวภายใต้วัฒนธรรมทางศาสนา อันหมายถึงพระพุทธศาสนา อันมีวัด ศาสนสถาน สถาปัตยกรรมทางศาสนา ธรรมเนียม ประเพณี วิถีปฏิบัติของชาวพุทธ ดังปรากฏในการบิณฑบาต การสรงน้ำพระม่านในช่วงสงกรานต์ ประเพณี กฐิน เข้าพรรษา หรือการทำกิจกรรมที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาอันสะท้อนถึงวิถีชีวิต เป็นการสะท้อนถึงเอกลักษณ์ อันเป็นอัตลักษณ์ของคนหลวงพระบางต่อการนับถือปฏิบัติในพระพุทธศาสนา และสื่อสะท้อนออกมาเป็นการท่องเที่ยวบนฐานของพระพุทธศาสนา 3) การจัดการท่องเที่ยวในหลวงพระบางในแบบศาสนาและวัฒนธรรม จึงเป็นการเน้นส่งให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ ปฏิบัติได้ และไปสู่เจตนารมณ์ทางศาสนา ในเรื่องของการใส่บาตรที่เน้นไปถึงการแบ่งปัน เสียสละตามเจตนารมณ์ทางศาสนา หรือการชมสุนทรียะสถาปัตยกรรมทางศาสนา ที่จะต้องไปถึงเจตนารมณ์ของวิถีทางศาสนาที่เชื่อมกับความอ่อนโยนทางจิต ที่มาพร้อมกับความไม่รุนแรง (ปาณาติบาท) ความอ่อนน้อม (คารวตา) อันมีฐานสำคัญจากคำสอนพระพุทธศาสนาให้ได้ นอกจากนี้หน้าที่สำคัญคือรัฐพึงเข้าไปจัดการท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานเอกชน หน่วยงานทางศาสนาเพื่อการออกแบบการท่องเที่ยวที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และประเพณีวิถีทางศาสนา พระพุทธรูปสำคัญ วัดสำคัญ บุคคลสำคัญ และประเพณีสำคัญในทางพระพุทธศาสนาให้สัมพันธ์กับวิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิต อัตลักษณ์ในความเป็นลาวที่หลวงพระบาง เพื่อไปสู่เป้าประสงค์เป็นความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติตามประเพณีวิถีอย่างเข้าใจ และส่งผลเป็นคุณค่าต่อการปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยว ที่ได้ทั้งคุณค่าของการรักษาแบบแผนเดิมไว้ เป็นคุณค่าความรู้ของผู้มา และมูลค่าจากการท่องเที่ยวในวิถีทางวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนาที่หลวงพระบาง อันเป็นเสน่ห์หลวงพระบางที่น่าไปเยือนเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

    ขอขอบคุณศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies Centre, MCU) ที่สนับสนุนงบประมาณ ในการวิจัย และการลงพื้นที่วิจัยในหลวงพระบางเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย สังเกต และมีส่วนร่วมในพื้นที่จริง ระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ที่จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยด้านอาเซียนศึกษาและอาณาบริเวณศึกษาในประเทศอาเซียน กรณีศึกษาพื้นที่หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในรายงานการวิจัยเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาในประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาหลวงพระบาง สปป.ลาว-Tourism Management Based on Culture and Religion in ASEAN Country: A Case Study of Luang Prabang, Laos PDR” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการวิจัยเชิงพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ  พระเดชพระคุณ พระราชวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และพระศรีธวัชเมธี รองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่อนุมัติงบประมาณสนับสนุนภายใต้การดำเนินงานโครงการของส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษา โดยมีบุคลากรของส่วนงาน คอยให้คำปรึกษาแนะนำและร่วมพัฒนางานวิจัยให้เป็นไปตามแนวทางการวิจัยและติดตามความก้าวหน้าการวิจัยอย่างต่อเนื่องด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งงานวิจัยแล้วเสร็จ ขอขอบคุณต่อผู้ให้ข้อมูลสำคัญในประเทศต่าง ๆ ทั้งในนามนักวิชาการ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธในประเทศกลุ่มตัวอย่างในฐานะผู้ให้ข้อมูลสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยอย่างยิ่ง

 

บรรณานุกรม

กันหา สีกุนวง. (2559). “ฮางฮดสรง: สื่อสัญลักษณ์ สุนทรียภาพ พิธีกรรมและความ เชื่อในแขวงหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงจำปาสักของ สปป.ลาว”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2559: 61-77. 

จรัญ ชัยประทุม. (2556). ผ้าทอหลวงพระบาง: มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1) มกราคม-มิถุนายน: 129-156.

ชัยสิทธิ์  ด่านกิตติกุล และ Nittha Bounpany. (2561). “การวางทิศทางของวัดในเมืองประวัติศาสตร์ หลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารหน้าจั่ว สถาปัตยกรรมการออกแบบและสภาพแวดล้อม. ฉบับพิเศษ มกราคม-ธันวาคม 2561: A55-A70.

ธีรยุทธ อินทจักร์. (2017). สุขายะทางรูปทรงในงานสถาปัตยกรรม พระอุโบสถวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.   4(2): 1-19.

ธีระยุทธ บัวจันทร์. (2558). รัฐสังคมนิยมกับการทำให้มรดกศักดินากลายเป็นสินค้า: กรณีศึกษาช่างเงินเมืองหลวงพระบาง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 8(8): 125-173. 

นนทิภัค เพียรโรจน์, สิริภัทร์ โชติช่วง, ณัฐมน ราชรักษ์. (2558). การเชื่อมโยงเส้นทางและการส่งเสริมการตลาด โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกลุ่ม 4 จังหวัดในภาคใต้ของไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(2): 89-115. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2559. ออนไลน์จาก http://journal.fms.psu.ac.th/images/Article_JourFMS/

No.32.2.58/32-2-58-4.pdf

นัฐพร เกิดกลาง, ชมพูนุท โกสลากร, เพิ่มพูนวิวัฒน์, พิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2553).“พฤติกรรมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) 2(1): 78-88. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2559, ออนไลน์จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/ download/554/471

นาฎยา ซาวัน, คนึงนิตย์ ไสยโสภณ บุญยัง หมั่นดี. (2017). เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก หลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 19(2): 81-96.

นิราศ ศรีขาวรส (2558). พระพุทธรูปไม้: สุนทรียภาพและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนในเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(2): 17-40.

บุญหนา จิมานัง. (2556). ตักบาตรข้าวเหนียวเที่ยวหลวงพระบาง. วารสารธรรมทัศน์. 11 (2) กรกฎาคม-ตุลาคม: 55-58.

พระมหาบุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง. (2553). การจัดการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอก ในเกาะรัตนโกสินทร์”, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2559, ออนไลน์จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Eco_Pla_Man/Bunphichet_C.pdf

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2553). รูปแบบและเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). สืบค้น 15 กรกฎาคม 2559. ออนไลน์จาก http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5350051

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และสายชล ปัญญชิต. (2556). รูปแบบของเครือข่ายการสร้างการเรียนรู้ทางสังคมในการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา. สืบค้น 10 กรกฏาคม 2559 ออนไลน์จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/viewFile/3811/3800

พระมหาสุริยา มะสันเทียะ. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าการตลาดสําหรับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของพระอารามหลวงในเกาะรัตนโกสินทร์. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สาขาการตลาด). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2559. จาก http://www.research-system.siam.edu/2013-12-20-03-59-31/2013-12-20-04-08-39/1010-2013-12-20-05-58-60

พระมหานิกร ฐานุตฺตโร. (2559). “พระพุทธศาสนาในประเทศลาว กรณีศึกษา: การศึกษาของคณะสงฆ์หลวงพระบาง (เมืองมรดกโลก)”, วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์.  2(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2559: 65-77.

ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2556). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณฑิรา มณีแสง. (2560). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวหลวงพระบางของนักท่องเที่ยว”  วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(3) กันยายน – ธันวาคม 2560: 82-95.

มัลลิกา ภูมะธน และดิเรก ด้วงลอย. (2559). “แนวคิดการจัดการการท่องเที่ยว (วัด) ในพระพุทธศาสนา: หลักการ และวิถีปฏิบัติ”, วารสาร มจร มนุษย์ศาสตรปริทรรศน์. 2 (2) กรกฎาคม-ธันวาคม: 50-64.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). หลวงพระบางในจักรวาลวิทยาแบบรัฐจารีต: พื้นที่พิธีกรรมและกระบวนการกลายเป็นราชธานีของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(2): กรกฎาคม-ธันวาคม 2553: 43-68

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2552). หลวงพระบาง: การเปลี่ยนแปลงในฐานะเมืองมรดกโลก (Luang Prabang: Changing in the Context of World Cultural Heritage Town) วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 1(1) มกราคม-มิถุนายน 2552: 84-104.

สิปป์ สุขสําราญ. (2559). “งานพุทธศิลป์ฮูปแก้วสี เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง.” วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 4 ฉบับที่ (2) กรกฎาคม – ธันวาคม: 155-167.

สุดาพร คมทะวง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวง

หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Journal Uttaradit Rajabhat University, 11(2): 349-366.

Alex Norman. (2004). Spiritual Tourism: Religion and Spiritual Spirituality in Contemporary Travel. Thesis of Bachelor of Arts. University of Sydney.

https://www.researchgate.net/publication/265362236_SPIRITUAL_TOURISM_RELIGION_AND_SPIRITUALITY_IN_CONTEMPORARY_TRAVEL

Chansone Keomanivong,(2009). “Sustainable Tourism Development in World Cultural Heritage Site, Luangprabang Town, Luangprabang Province, Lao PDR”. A Thesis of Master of Business Administration in Hospitality and Tourism Management (International Program). Graduate School: Prince of Songkla University. http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/ 5952/1/313701.pdf

Charuwan Chareonla. (1989). Buddhist Arts in Thailand. Australia: Buddha Dharma Education Association Inc. online http://www.buddhanet.net/ pdf_file/budartthai2.pdf

Denise Heywood. (2006). Ancient Luang Prabang. Bangkok: River Books.

John Holt. (2009). Spirits of the Place: Buddhism and Lao Religious Culture. Hawaii: University of Hawaii Press.

Sitthivong, Phikkhu; Khamvone Boulyaphone; Phra Khamchan Virachitta Maha

           Thera. (2011). Great monks of Luang Prabang 1854 to 2007. Luang

           Prabang: Publications of the Buddhist Archive of Photography.

TIGGP Loas. (2016). “Luang Prabang Province Tourism Destination Management Plan 2016 – 2018”. Tourism Infrastructure for Inclusive Growth Project (TIIGP). Loas PRD: Ministry of Information, Culture and Tourism, ออนไลน์: http://www.tiigp-laos.org/downloads/other/Luang%20Prabang%20Province %20Destination%20Management%20Plan.pdf

Tourism Development Department. (2018). 2017 Statistical Report on Tourism in Laos Ministry of Information, Culture and Tourism, Tourism Development Department. Online: http://www.tourismlaos.org/files/ files/Statistical%20Report%20on%20Tourism%20in%20Laos/2017%20Statistical%20Report%20on%20tourism%20in%20Laos.pdf

UNWT. (2013). International Conference: Spiritual Tourism for Sustainable Development. Ninh Binh City, Viet Nam, 21 – 22 November 2013. World Tourism Organization. Online: http://cf.cdn.unwto.org/sites/all/files/pdf/vietnam_ brochure9_web-1.pdf

Wantanee Suntikul. (2018). The Impact of Tourism on the Monks of Luang Prabang. Institute for Tourism Studies Colina de Mong-Há Macau China  https://www.icomos.org/quebec2008/cd/toindex/77_pdf/77-9ytg-102.pdf

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here